ผลสอบสวนกรณีรถไร้คนขับ Uber ชนคน: ระบบแยกประเภทวัตถุไม่เสถียร,...

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 10 พฤศจิกายน 2019.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    เหตุการณ์รถไร้คนขับของ Uber ชนคนเมื่อปี 2018 นับเป็นเหตุการณ์รถไร้คนขับชนคนจนถึงแก่ชีวิตเป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการความปลอดภัยคมนาคม (National Transportation Safety Board - NTSB) ได้ปล่อยรายงานเบื้องต้นหลังสอบสวนไปสองเดือน ตอนนี้รายงานฉบับเต็มก็ออกมาแล้ว

    รายงานระบุว่ารถของ Uber นั้นตรวจจับวัตถุด้วยเซ็นเซอร์ 3 ระบบร่วมกันคือ lidar (เซ็นเซอร์แสงเลเซอร์), เรดาร์, และกล้องถ่ายภาพ เมื่อจับวัตถุพบแล้ว ระบบจะจัดหมวดหมู่วัตถุ โดยอาจเป็นยานพาหนะ, คนเดินถนน, รถจักรยาน, หรือหากไม่สามารถจัดประเภทได้ก็จะจัดเป็นวัตถุอื่นๆ โดยประเภทของวัตถุนี้จะใช้เลือกกระบวนการติดตามและคาดเดาทิศทางวัตถุ เช่น หากพบยานพาหนะบนถนนก็จะคาดว่าโดนทั่วไปจะขับรถไม่ย้อนศร และน่าจะพยายามจับตามเลนถนน

    ปัญหาของซอฟต์แวร์ Uber คือทุกครั้งที่วัตถุถูกจัดประเภทใหม่ ประวัติการเคลื่อนที่จะหายไปและระบบจะพยายามคาดเดาทิศทางใหม่ทุกครั้ง

    เซ็นเซอร์ตรวจพบคนเดินเท้าตั้งแต่ 5.6 วินาทีก่อนการชน โดยจัดประเภทเป็นยานพาหนะที่เส้นทางไม่ทับกับตัวรถ จากนั้น 3.8 วินาทีก่อนชน ระบบตรวจจับเป็นยานพาหนะสลับกับวัตถุอื่นๆ ส่วนเส้นทางที่ตรวจได้ก็สลับกันระหว่างอยู่นอกเส้นทางกับทับเส้นทางรถ ก่อนการชน 1.2 วินาทีจึงยืนยันว่าอยู่ในเส้นทางรถเต็มๆ

    เมื่อระบบยืนยันได้ว่าจะชนแน่ๆ ที่ 1.2 วินาทีก่อนการชน ระบบหาเส้นทางหักหลบและพบว่าไม่มีทางหักหลบทัน ระบบจึงยับยั้งการเบรกฉุกเฉินแม้ว่าการลดความเร็วฉุกเฉินในตอนนี้อาจจะรักษาชีวิตคนข้ามได้ก็ตาม ระบบเริ่มเบรกเองก่อนชน 0.2 วินาที

    Volvo XC90 ที่ Uber ใช้งานมีเรดาพร้อมระบบเบรกอัตโนมัติช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่เรดาร์ของ XC90 ใช้คลื่นย่านเดียวกับเซ็นเซอร์ของ Uber ทำให้ทาง Uber ตัดสินใจปิดระบบนี้ไป

    หลังการสอบสวน Uber พยายามแก้ปัญหาเกือบทั้งหมด โดยเปลี่ยนคลื่นหลบเรดาร์ของ Volvo และกำลังทำงานร่วมกับ Volvo ว่าควรจัดลำดับความสำคัญของระบบเบรกอัตโมัติอย่างไร, ระบบจะไม่ยับยั้งการเบรกฉุกเฉินแม้หลีกเลี่ยงการชนไม่ได้, เพิ่มขีดจำกัดการเบรกสูงสุดของระบบอัตโนมัติ, จำทิศทางวัตถุแม้จัดหมวดหมู่ใหม่, และเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดหมวดหมู่ให้แม่นยำขึ้น

    ที่มา - NTSB, ArsTechnica

    [​IMG]

    [​IMG]

    Topics: UberAutonomousDriverless Car
     

แบ่งปันหน้านี้