ที่ประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติฉลุย! โหวตเลือก 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา'' นั่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่29 ของไทย บรรยากาศการประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติโหวตเลือกให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่29 ของไทย ก่อนที่จะนำรายชื่อส่งสำนักราชเลขาธิการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและนำขึ้นทูลเกล้าฯตามขั้นตอนต่อไป ประวัติ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของ พ.อ. (พิเศษ) ประพัฒน์ กับเข็มเพชร จันทร์โอชา มีชื่อเล่นว่า "ตู่" สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[2] หนึ่งในน้องชายคือ พล.ท. ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ รศ.นราพร จันทร์โอชา อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำงานและบทบาททางการเมือง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 ในรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น "พลตรี" ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจาก พล.ท. อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 หลังจากนั้นเมื่อ พล.ท. อนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พล.ต. ประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วย พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายทหารที่มีความสนิทสนมกับ พล.อ. อนุพงษ์ เป็นอย่างมาก ด้วยความเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาตลอดในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ โดย พล.อ. ประยุทธ์นับถือ พล.อ. อนุพงษ์เสมือนพี่และอาจารย์คนหนึ่งของตน โดย พล.อ. ประยุทธ์เป็นนายทหารที่มีบุคลิกที่อ่อนนุ่มโดยมักติดคำว่า "นะจ๊ะ" ต่อท้ายการพูด จึงได้รับอีกชื่อหนึ่งจากสื่อมวลชนว่า "ตู่นะจ๊ะ" พล.อ. ประยุทธ์ ได้รับตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 และรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา พ.ศ. 2554 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พล.อ. ประยุทธ์ เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) ในการประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายไม่เป็นผล ต่อมา คสช. มีประกาศให้อำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นของเขา หลังรัฐประหาร สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับพลเอก ประยุทธ์ให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร พลเอก ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่อมา พลเอกประยุทธ์ปฏิเสธว่าไม่ได้คุยกับสุเทพเป็นการส่วนตัวในห้วงการชุมนุมทางการเมือง พลเอกประยุทธ์กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 ตอนหนึ่งว่า "ตนเรียนท่านแล้วทุกวันนี้ เราทำกฎกลไกของรัฐปกติ ในเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน ผมไม่เห็นจะยากตรงไหน ในการที่จะบริหารให้คนทำงาน แต่จะก้าวหน้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"