วิเคราะห์ขั้นตอนเลือกนายกฯ

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 21 สิงหาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    วิป สนช. เคาะหลักเกณฑ์การเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว คือผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ จะต้องได้คะแนนเสียงเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดและไม่มีเหตุจำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์

    คณะกรรมาธิการสามัญประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. เห็นชอบให้นำหลักเกณฑ์การเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช.เสนอมาใช้บังคับในวันพรุ่งนี้ (21 ส.ค.2557) และใช้กับการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นงานแรก โดยสาระสำคัญนั้น สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 และรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องได้รับการรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ (197 - 3 ÷ 5 = 38 คน) และสมาชิกแต่ละคนสามารถรับรองได้เพียง 1 คนเท่านั้น ด้วยการกดบัตรแสดงตน

    ผู้ที่จะเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและได้รับการทาบทามมาแล้ว ดังนั้นผู้ที่ถูกเสนอชื่อจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่ประชุมและไม่มีเหตุให้ต้องแสดงวิสัยทัศน์ โดยผู้ที่ถูกเสนอชื่อจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด หรือ 99 เสียง โดยใช้วิธีขานรายชื่อในการลงคะแนน เกือบ 3 เดือนในการเข้าควบคุมการบริหารประเทศภายใต้โรดแมปของคสช.ไม่เพียงแค่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำหน้าที่หัวหน้า คสช. และปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเท่านั้น ยังเป็นที่คาดการณ์ตรงกันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะนั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อมี ครม.ชั่วคราวขึ้นมาบริหารประเทศด้วย

    เส้นทางผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 37 สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของ พล.อ.ประยุทธ์ ใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น หลังผ่านบทพิสูจน์การทำงานในฐานะหัวหน้า คสช.บริหารประเทศชั่วคราวเทียบเท่านายกรัฐมนตรี มาเกือบ 3 เดือน

    บทเรียนในอดีตหลังทหารเข้ายึดอำนาจมักจะตามมาด้วยกระแสตีกลับ ทำให้การเข้าควบคุมการบริหารประเทศของ คสช.ในวันที่ 22 พฤษภาคม 57 ใช้ความระมัดระวังและเริ่มต้นด้วยการสลายสีเสื้อ สร้างบรรยากาศปรองดอง เลือกบุคคลดูแลงานในแต่ละด้านอย่างรอบคอบและสอดคล้องในแนวทางเดียวกันและแม้ขณะนี้จะมีทั้งกระแสบวกและลบต่อตัวของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่หากคสช.จะมุ่งขับเคลื่อนงานตามโรดแมปและดูแลความมั่นคงอย่างเบ็ดเสร็จในช่วง 1 ปีก่อนคืนอำนาจให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งปลายปี 2558 ก็จำเป็นที่ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องมีอำนาจในการดูแลงานคู่ขนานทั้งในสถานะรัฐบาลชั่วคราวและ คสช.

    แต่ตลอดเส้นทางที่รออยู่ข้างหน้าของ พล.อ.ประยุทธ์ อาจมีอุปสรรคทั้งการเคลื่อนไหวจากกลุ่มต่อต้าน คสช.ที่เริ่มส่งสัญญาณให้เห็นและการเผชิญความท้าทายภายนอก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ และอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้กับคลื่นภายในที่จะเกิดขึ้น ทั้งใน คสช.ในรัฐบาลชั่วคราว หรือในกองทัพ ที่มีทั้งพี่ เพื่อนและน้อง อันเป็นคนสนิทชิดใกล้ทาบเส้นความเกรงใจที่จะเกิดขึ้นตลอกเวลา

    นับจากนี้ ต้องจับตากันว่า โผจะพลิกหรือไม่ ถ้าไม่ พล.อ.ประยุทธ์จะเลือกบุคคลใดเข้าร่วม ครม.ประยุทธ์ 1 เพราะนอกจากปัจจัยสนับสนุนสร้างความเชื่อมั่นแล้ว อนาคตจะแปรเปลี่ยนกลายเป็นเงื่อนไขหรือไม่
     

แบ่งปันหน้านี้