เหตุผลที่ทหารต้องประกาศ 'กฏอัยการศึก' ด้วยตนเอง

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 20 พฤษภาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    อีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่คนไทยต้องเผชิญหน้ากับ การประกาศกฏอัยการศึก หรือ ก้าวแรกสู่รัฐประหารครึ่งใบ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้มาถึงวันนี้ได้ แต่ทหารยังคงเป็นกำลังหลักในการทำหน้าที่นี้

    เป็นอีกครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ประชาชนคนไทยต้องเผชิญกับการประกาศ 'กฏอัยการศึก' ซึ่งถือเป็นการเข้าควบคุมความสงบเรียบร้อยจากฝ่ายทหาร เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง รวมถึงความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบและการเผชิญหน้ากันของกลุ่มประชาชนที่แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ซึ่งการประกาศกฎอัยการศึกฉบับปัจจุบัน ถูกตราขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 และวันนี้ถือว่าครบรอบ 100 ปีแล้ว ซึ่งการประกาศกฏอัยการศึกแต่ละครั้งมีจุดเริ่มต้นที่ไม่เหมือนกัน

    โดยครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ที่มีกระแสคัดค้านจากหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านอย่างรุนแรงที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และส.ส.คนสำคัญในพรรคอีก 8 คน

    โดยการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเริ่มจากเวทีที่ถนนสามเสน จากนั้นประกาศเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินแทน เพื่อยกระดับการชุมนุม แม้ทุกพรรคจะมีมติยกเลิกการดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ รวมถึงวุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบกับร่างฉบับนี้ก็ตาม แต่การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไป โดยเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการชุมนุมเพื่่อต่อต้านรัฐบาลแทน และเริ่มมีการอารยะขัดขืนกับฝ่ายรัฐบาล ด้วยการ"เป่านกหวีด"

    ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้ยกระดับได้บุกรุกเข้ายึดสถานที่ราชการต่างๆ จนถึงการตั้งเวทีปิดสี่แยกสำคัญในกรุงเทพมหานคร 7 จุด เพื่อประกาศอารยะขัดขืน จนวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่การเลือกตั้งก็ไม่สำเร็จ เมื่อกลุ่มกปปส.ไม่ยอมรับการเลือกตั้งและให้รัฐบาลต้องลาออกทั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการเปิดทางตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางเพื่อเดินหน้าในการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจัง

    ทั้งนี้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมได้เดินหน้ารุนแรงมากขึ้น จากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นของกลุ่มกปปส.ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง // ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครไทย-ญี่ปุ่นเขตดินแดง // สี่แยกหลักสี่ // สี่แยกคอกวัว จากปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มที่ไม่ทราบฝ่าย รวมถึงการชุมนุมของกลุ่มนปช.ที่ราชมังคลากีฬาสถาน กระจายไปสู่จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ และมารวมกันที่ถนนอักษะและประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนไม่รับนายกรัฐมนตรีที่จะไม่ยอมรับนายกรัฐมนตรีคนกลาง พร้อมยอมสู่หากมีการเดินหน้าในเรื่องนี้สำเร็จ

    และจากแถลงการณ์ 7 ข้อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของกองทัพว่า ทหารคงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการใช้กำลังเต็มรูปแบบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากเกิดการปะทะจนถึงขั้นจลาจลนองเลือด

    และล่าสุดนายสุเทพประกาศต่อสู้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม เรียกข้าราชการหยุดงาน เรียกประชาชนออกมาให้มากที่สุดเพื่อให้จบในวันที่ 26 พฤษภาคม หากไม่จบจะมอบตัวในวันต่อไป

    แต่สุดท้ายพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จึงต้องประกาศกฏอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03.00น. เพื่อยุติความขัดแย้งที่อาจบานปลายไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้ทหารเป็นกำลังหลักในการควบคุมสถานการณ์ เพื่อให้ฝ่ายกปปส.ซึ่งเป็นฝ่ายยอมรับการทำหน้าที่ของทหารได้ปฏิบัติตามในการยุติการชุมนุม เพราะที่ผ่านมาการทำงานของศอ.รส.ของรัฐบาลที่นำโดยตำรวจนั้นไม่สามารถควบคุมดูแลสถานการณ์ได้

    อย่างไรก็ตามน.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารและความมั่นคง โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า แม้ ผบ.ทบ.ยืนยันการประกาศกฎอัยการศึกในวันนี้ (20 พ.ค.) ไม่ใช่ปฏิวัติรัฐประหาร แต่ก็ถือว่า เป็นก้าวแรก ที่จะนำไปสู่การรัฐประหารได้
     

แบ่งปันหน้านี้