สถิติ Blognone ประจำครึ่งแรกของปี 2014 (รอบนี้มาช้าไปหน่อยเพราะผมลืมเองครับ) ภาพรวมคือปริมาณผู้เข้าชมเว็บ "ลดลง" (น่าจะเป็นครั้งแรกตั้งแต่เปิดเว็บมา) เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2013 เซสชัน 8.78 ล้านครั้ง ลดลง 3.9% ผู้ชมเว็บ 3.39 ล้านคน ลดลง 0.28% เพจวิว 16.7 ล้านครั้ง ลดลง 9% จำนวนเพจเฉลี่ยต่อการเข้าชม 1.91 เพจ ลดลง 5.30% ส่วนเหตุผลที่ปริมาณผู้ชมลดลง น่าจะมาจากหลายปัจจัย ทั้งสถานการณ์การเมืองในช่วงครึ่งแรกของปี ที่ร้อนแรงจนกลบข่าวอื่นๆ, การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในบรรดาสื่อออนไลน์ และการปรับอัลกอริทึมหรือวิธีการนับของกูเกิล (ดังจะกล่าวต่อไป) ภาพรวมทราฟฟิกในครึ่งแรกของปี 2014 มีเหตุการณ์ spike หรือทราฟฟิกพุ่งเยอะเป็นพิเศษอยู่หลายครั้ง เริ่มจากกราฟแท่งแรกที่แหลมขึ้นมานะครับ Facebook Lookback April Fool 2014 Pokemon Facebook ใช้งานไม่ได้ชั่วขณะ และ F-Secure แจก VPN ฟรี กระทรวงไอซีทีเสนอ "ไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ให้คนไทยใช้งาน ทราฟฟิกแยกรายประเทศครับ 95% มาจากประเทศไทย ส่วนประเทศอื่นๆ ก็เป็นประเทศที่คนไทยนิยมไปอยู่อาศัยกันเป็นส่วนใหญ่ (ใครอยู่ต่างประเทศ แสดงตัวด้วยก็ดีครับ) สถิติตัวนี้ปีก่อนๆ ไม่ได้นำมาโชว์ครับ มันคือ frequency หรือความถี่ในการเข้าชม Blognone ซึ่งจากกราฟเราเห็นชัดเจนว่ามันเป็นกราฟท้องช้าง (หรือ reversed bell) มีผู้เข้าชมกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่มได้แก่ "ขาจร" (เข้าเว็บครั้งเดียวแล้วจากไป) และ "แฟนพันธุ์แท้" ที่เข้าเว็บบ่อยกว่า 200 ครั้งในรอบการนับของ Google Analytics แหล่งที่มาทราฟฟิก คีย์เวิร์ด เนื้อหา ปีนี้กูเกิลปรับวิธีจัดหมวดแหล่งที่มาของทราฟฟิกอีกครั้ง โดยแยกส่วน referral และ social ออกจากกัน (เดิมทีอยู่ด้วยกัน) นอกจากนี้ยังแยกส่วนทราฟฟิกค้นหาจาก google.com กับ google.co.th เป็นคนละส่วนกันด้วย (จะกล่าวต่อไป) ทำให้เทียบกับปีก่อนค่อนข้างยาก Referral (รวม google.co.th) 36.82% Social 26.40% Direct 20.22% Organic Search (google.com) 16.5% สถิติแยกละเอียด 10 อันดับแรก (เทียบปี 2014 กับ 2013) สังเกตอันดับ 1 กับอันดับ 3 กูเกิลคิด google.co.th กับ google.com แยกจากกัน (แถมยังจัดไว้คนละหมวดคือ referral กับ organic search) และทราฟฟิกในกลุ่ม google.com ลดลงมาก ในขณะที่ google.co.th กลับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน จุดนี้คงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ทราฟฟิกในภาพรวมลดลงครับ อันดับ 2 การเข้าเว็บโดยตรง (direct) ลดลงจากปีก่อน สาเหตุน่าจะมาจากปัจจัยทางการเมือง และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าถึงเนื้อหาของ Blognone ผ่านวิธีการอื่นมากขึ้น (เช่น แอพ) อันดับ 4-5 เป็นของ Facebook ซึ่งสังเกตได้ชัดเจนว่าทราฟฟิกเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจาก m.facebook.com เทียบสถิติเฉพาะ social network หลัก 3 ราย Facebook ยังกวาดส่วนแบ่งทราฟฟิกเช่นเดิม แต่ social ทุกรายก็มีคนใช้เยอะขึ้นทั้งหมด คีย์เวิร์ดยอดนิยม ตรงนี้มีบทบาทน้อยลงเรื่อยๆ หลังกูเกิลเข้ารหัสทราฟฟิกด้วย HTTPS (แถม Google Analytics ที่เป็นผลิตภัณฑ์ค่ายเดียวกันเองก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้) ในรอบต่อๆ ไปผมอาจเลิกโชว์สถิติตัวนี้เพราะข้อมูลที่เปิดเผยและเป็นประโยชน์นั้นหายไปเยอะมาก (เรามองไม่เห็นคีย์เวิร์ด 68% ของคีย์เวิร์ดทั้งหมด) เนื้อหายอดนิยม 20 อันดับแรก แชมป์ปีนี้เป็นของ ชาวเน็ตอึ้ง ส่วนรีวิวยอดฮิตคือ Galaxy S5 ที่เหลือดูกันเองนะครับ ข้อมูลทางเทคนิคของผู้ใช้งาน ข้อมูลส่วนนี้นับเฉพาะเดือน มิ.ย. 2014 เพื่อความสดใหม่ที่สุดของเวอร์ชันซอฟต์แวร์ครับ ชนิดของอุปกรณ์ที่รับชม 66% มาจากเดสก์ท็อป, 24.8% มาจากสมาร์ทโฟน (ไม่รวมแอพ) และ 8.8% มาจากแท็บเล็ต (ไม่รวมแอพ) เว็บเบราว์เซอร์ แม้ Chrome จะถูกบ่นมากมาย แต่ส่วนแบ่งตลาดในหมู่ผู้ใช้ Blognone ก็ยิ่งถ่างออกจากอันดับรองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนแบ่งของ Chrome เพิ่มเป็น 57% แล้ว (ปีก่อนคือ 50%) อันดับสอง Firefox เบียด Safari กลับขึ้นมาเป็นที่สอง, ที่น่าสนใจคือ Safari in-app มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น น่าจะเกิดจากคนนิยมใช้แอพมากขึ้น, Android Browser สัดส่วนลดลงเพราะคนย้ายมาใช้ Chrome กันแทน, ส่วนแบ่ง IE ลดฮวบจาก 9% เหลือแค่ 4.9% เท่านั้น IE เลขเวอร์ชันของ IE ยังเป็นที่สนใจอยู่เสมอ (เราเลิกสนใจเวอร์ชันของ Chrome/Firefox กันไปนานแล้วนะครับ) โดย 46% ของผู้ใช้ IE ทั้งหมดใช้ IE11 เวอร์ชันล่าสุด, ตามด้วย IE10 ที่ 21.5% IE6 มหาอมตะนิรันดร์กาลลดเหลือ 0.33% ของผู้ใช้ IE ทั้งหมด ส่วน IE8 ที่ว่ากันว่ามันจะเป็น IE6 ตัวถัดไปก็ลดเหลือ 16% (สถิติเมื่อธันวาคม 2013 มีคนใช้ IE8 ถึง 39% หายไปเยอะเลย) Opera ประกาศเลิกใช้เอนจิน Presto เปลี่ยนเป็น WebKit เมื่อต้นปีที่แล้ว เวลาผ่านมาหนึ่งปี เรามาดูกันหน่อยว่าคนใช้ Opera ปรับตัวกันอย่างไร ถ้าดูจากเลขเวอร์ชัน ผู้ใช้ Opera (ที่มีอยู่ไม่เยอะนัก) ส่วนใหญ่ปรับตัวมาใช้ Opera WebKit/Blink (เลขเวอร์ชัน 21-23) กันเยอะแล้ว เหลือกลุ่มที่ใช้ Opera Classic (เลขเวอร์ชัน 12.x) ไม่เยอะนัก รวมกันแล้วประมาณ 20% ระบบปฏิบัติการ นับรวมทุกอย่างทั้งเดสก์ท็อป แท็บเล็ต มือถือ Windows ยังครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง แต่ด้วยส่วนแบ่งที่ลดลงคือ 57% (ปีที่แล้ว 63%) อันดับสองคือ Android ที่แซง iOS ได้สำเร็จมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ยังครองอันดับสองได้อยู่ แต่เหนือกว่า iOS ไม่มาก ทั้ง iOS/Android มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม (15-16% เทียบกับ 13-14% ในเดือนธันวาคม 2013) อันดับที่เหลือใกล้เคียงกับของเดิมคือ Mac, Linux, Windows Phone โดยส่วนแบ่ง Mac เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระบบปฏิบัติการ นับเฉพาะอุปกรณ์พกพา Android เบียดนำ iOS นิดๆ ด้วยสัดส่วน 48.65% ต่อ 45.99% ส่วน Windows Phone ตามมาแบบไกลๆ ที่ 3.5% Windows Windows 7 ยังรักษาส่วนแบ่งที่ราว 60% ได้เช่นเดิม Windows XP ลดฮวบจาก 15% เมื่อปลายปี มาเหลือ 9.5% Windows 8.1 เพิ่มขึ้นเป็น 21.6%, ส่วน 8.0 อยู่ที่ 8.33% (ถ้านับรวม Windows 8.x อยู่ที่ประมาณ 30% แล้ว ปลายปีก่อนยังแค่ราว 17%) Mac ผู้ใช้ OS X 10.9 Mavericks เพิ่มจาก 72% เมื่อปลายปี เป็น 82% แล้ว ส่วน OS X เวอร์ชันเก่าๆ ก็ลดหลั่นกันลงไปตามตาราง Android เลขเวอร์ชันกระจัดกระจายเหมือนเดิม แต่ 2.3 Gingerbread หลุดออกไปจาก Top 10 แล้ว Android 4.4.x KitKat รวมกันที่ประมาณ 43% iOS iOS 7.1.x รวมกันที่ประมาณ 84% iOS 6 ยังมีคนใช้บ้างประปราย, iOS 8 เริ่มเข้ามาในชาร์ท อุปกรณ์พกพายอดนิยม แยกตามค่าย แอปเปิลยังเป็นแชมป์ที่ 46.4% ซัมซุงตามมาเป็นอันดับสอง 21.3% แต่ชิงส่วนแบ่งตลาดได้ดีขึ้น LG เพิ่มพรวดมาเป็นอันดับ 4 ที่ 5.4% น่าจะเป็นพลังของ LG G2 ช่วยดัน Nokia ตกจากอันดับ 4 เมื่อปลายปี มาอยู่ที่อันดับ 7 แล้ว Google Nexus, HTC, Sony/Sony Ericsson ยังรักษาตำแหน่งของตัวเองได้อยู่ Xiaomi เข้ามาในชาร์ทแล้ว (อันดับ 14) อุปกรณ์พกพายอดนิยม แยกตามรุ่น สถิติส่วนนี้ต้องบอกก่อนเช่นเคยครับว่า Google Analytics ไม่แยกรุ่นของ iPhone/iPad ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เทียบกับคู่แข่งได้ละเอียด Note II ยังเป็นมือถือ Android ขวัญใจคนไทย คว้าแชมป์ต่อกันมา 3 รอบแล้ว Nexus 5 คนใช้เยอะกว่า Nexus 4 Note III ไล่จี้ติด Note II แต่ระบบดันนับแยกรุ่นเป็น N900T กับ N9005 เลยดูอันดับน้อยไปหน่อย อันดับที่เหลือของซัมซุงยังคล้ายๆ เดิมคือ Galaxy S4, Note 8, S III LG G2 ขึ้นมาติดใน Top 10 HTC 8S นี่ผมเข้าใจว่า Analytics น่าจะเรียกผิด? มันควรจะเป็น One M8? ปิดท้ายว่าถึงแม้สถิติเป็นจำนวนคนเข้าจะตกลง (ด้วยเหตุผลหลายประการ) แต่สถิติอื่นๆ ของเรายังเติบโตทั้งในแง่จำนวนเนื้อหาและทราฟฟิก (raw traffic) ดังนั้นคงต้องดูกันยาวๆ อีกครึ่งปีว่าสถิติภาพรวมจะเป็นอย่างไรต่อไปครับ ปีนี้ Blognone จะมีอายุครบ 10 ปีพอดี เราก็สัญญาว่าจะเดินหน้าต่อไปในแง่ content ที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อตามให้ทัน "เทคโนโลยี" ที่กำลังขยายตัวออกไปไกลกว่าในอดีตมากครับ Blognone, Announcement , Statistics