ผู้ว่าแบงก์ชาติเผยหลังการเมืองไทยเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ศก.ไทยมีสัญญาณฟื้นตัว เผยการคลังช่วยขับเคลื่อนเบิกจ่ายงบ ผู้ว่าแบงก์ชาติ เผยหลังการเมืองไทยเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวด้านการบริโภค การลงทุนของภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ระบุไทยต้องเผชิญความท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะปัญหาแรงงาน แนะภาคเอกชนผนึกกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ภาครัฐควรปลดล็อกนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของภาคเอกชน พร้อมลดการบิดเบือนราคาสินค้าเกษตรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557 โดยมีดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษ เรื่องทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย ความว่า หากมองย้อนกลับไปในปี 2556 ที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นมาตั้งแต่ช่วงกลางปีจากการใช้จ่ายภาย ในประเทศที่แผ่วลง หลังจากเร่งตัวขึ้นไปมากในช่วงก่อนหน้านี้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นตัวจำกัดความความสามารถในการใช้จ่ายด้วย นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้ว และยืดเยื้อต่อเนื่องมาถึง 5 เดือนแรกของปีนี้ ทาให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวยิ่งขึ้น ภาคเอกชนจากเดิมที่รัดเข็มขัดการใช้จ่ายอยู่แล้ว กลับยิ่งระมัดระวังการบริโภค และการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพียง ตัวเดียวที่เหลืออยู่ในปีที่แล้วก็สะดุดลง หลังจากที่หลายประเทศประกาศหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งภาคการคลังที่เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในยามจำเป็นก็มีข้อจำกัด หลังการรประกาศยุบสภาของรัฐบาล ขณะที่การส่งออกสินค้าที่หวังพึ่งจะให้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนก็ยังฟื้นตัวช้ำ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตสินค้าของไทยเอง และโครงสร้างการค้าของโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ประเทศในเอเชียรวมถึงไทยไม่สามารถพึ่งการส่งออกได้มากเหมือนในอดีต ภาคการส่งออกที่ค่อยๆ ฟื้นตัวจึงไม่สามารถชดเชยกับเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแรงลงได้ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 0.6 ในแง่ของการดำเนินนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้ติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด และได้ดำเนินนโยบายผ่อนคลาย เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในระยะสั้น และเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่ายในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง "การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคมช่วยลดความไม่แน่นอนทางการเมืองลง ขณะที่นโยบายภาครัฐก็มีความชัดเจนขึ้น หลายฝ่ายจึงเกิดความคาดหวังเชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ความหวังแรก คือ ภาคการคลังที่จะกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน และเร่งคืนเงินจำนำข้าแก่ชาวนา ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อจะช่วยเพิ่มเม็ดเงินให้กับระบบเศรษฐกิจ " ดร.ประสาร กล่าวว่า ได้เร่งรัดจัดทำแผนงบประมาณประจำปี 2558 และสร้างความชัดเจนเดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า หวังต่อมา คือ สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งจะช่วยให้กำรท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว และสิ่งสุดท้าย คือ ภาคเอกชนจะกลับมาลงทุนในโครงการที่เลื่อนออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการลงทุนใหม่ๆ เพื่อเตรียมรองรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีแผนที่มีแผนชัดเจน จากข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ปรับตัวดีขึ้น แต่โดยรวม เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ก็ยังมีแนวโน้มหดตัว แต่คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีจะกลับมาฟื้นตัวได้ และน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปีหน้า โดยประมาณการว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.5 และประมาณร้อยละ 5.5 ในปี 2558 ความท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ดร.ประสาร กล่าวต่อไปว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะสะดุดลงบ้างในช่วงที่ผ่านมา แต่พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงเข้มแข็ง มีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำและมีเสถียรภาพ การจ้างงาน และดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีมากพอที่จะรองรับกับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย หนี้สาธารณะอยู่ในระดับบริการจัดการได้ ระบบการเงินมั่นคง ขณะที่ฐานะทางการเงินของภาคธนาคาร และภาคธุรกิจมีความแข็งแกร่ง ทำให้นักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงบริษัทจัดอันดับเครดิตยังมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย 4 อย่างไรก็ดี หากมองรอบด้านและลึกลงไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย จะพบสัญญาณบางอย่างที่สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมา สัญญาณแรก คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่เคยสูงถึงร้อยละ 9 ต่อปีในช่วงทศวรรษก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปีหลังจากนั้นเป็นต้นมา สัญญาณที่สอง คือ รายได้ต่อหัวของคนไทยติดอยู่ที่ระดับร้อยละ 15 - 20 เทียบกับสหรัฐฯ มาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว ทั้งที่หลายประเทศที่เคยมีจุดเริ่มต้นเดียวกับไทยเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ทิ้งห่างเราไปมาก สัญญาณสุดท้ายมาจากข้อมูลการสำรวจของ World Economic Forum ที่พบว่า ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเทียบกับประเทศอื่นลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดย อันดับของไทยตกจากอันดับที่ 28 มาอยู่ที่ 37 จากทั้งหมด 148 ประเทศ ขณะที่ประเทศ เพื่อนบ้านทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ต่างพัฒนาและยกระดับตัวเองขึ้นมาอยู่ในอันดับ ถัดจากไทยเพียงไม่กี่ลำดับ โจทย์สำคัญที่ตามมา คือ อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และทำไมเศรษฐกิจไทยจึงเติบโตค่อนข้างช้า "สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ข้อจำกัดเชิงโครงสร้างเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ผมเชื่อว่าจะเป็นความท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า เรื่องแรกคือ ข้อจำกัดทางด้านแรงงาน ไทยประสบกับปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงาน เพราะอัตราการเกิดที่ต่ำต่อเนื่อง ทำให้ประชากรวัยทำงนขยายตัวน้อย ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นลำดับแรกในประเทศอาเซียน ซึ่งจะทำให้การขยายกำลังแรงงานทำได้ยากขึ้นไปอีกในอนาคต และไทยยังเผชิญกับปัญหากับภาคแรงงานที่โตช้า " ดร.ประสาร กล่าวว่า ส่วนหนี่งเป็นเพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานมีน้อย รวมทั้งกำลังแรงงานโยกย้ายจากการภาคเศรษฐกิจที่มีผลิตสูงไปสู่ผลิตภาพต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการบิดเบือน เช่นการอุดหนุนราคาสินค้ากษตรที่สูงเกินจริง ข้อจำกัดด้านแรงงานเหล่านี้มีส่วนฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะเป็นอุปสรรคต่อกการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นไปในอนอนาคต หากไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องที่สอง คือ ข้อจำกัดด้านการผลิต ไทยยังไม่สามารถยกระดับการผลิตสินค้าให้ก้าวทันตามความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ ทาให้ไทยสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันส่งออกสินค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากไทยมีกรลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีน้อย เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประกอบกับกำรวิจัยและพัฒนำเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระดับต่ำ ข้อจำกัดด้านการผลิตนี้หากยังคงเป็นอยู่เช่นนี้ ก็อาจจะทำให้ภาคการส่งออกไม่สามารถกลับมาขยายตัวสูงและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้เหมือนในอดีต รวมทั้งจะเติบโตช้ากว่าประเทศที่เคยเป็นคู่แข่งที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ชัดเจน ดร.ประสาร กล่าวอีกว่า เพื่อที่ไทยจะก้าวข้ามข้อจากัดเชิงโครงสร้างเหล่านี้ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการลดข้อจำกัดดังกล่าว โดยภาครัฐจำเป็นต้อง 1. ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบขนส่งและโทรคมนาคม เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและ โลจิสติกส์ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย 2. มีนโยบยที่สนับสนุนและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของภาคเอกชน รวมถึงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และภาคการผลิต เช่น นโยบายสร้างแรงจูงใจในการลงทุนวิจัยและพัฒาของภาคเอกชน นโยบายการพัฒนาทักษะแรงงาน และคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีลดการบิดเบือนราคาสินค้าเกษตรโดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และ 3.เสริมสร้างบรรยากาศการแข่งขัน และลดการผูกขาดเท่าที่ทำได้ ในขณะเดียวกันภาคเอกชนจำเป็นต้อง พัฒนาประสิทธิภานการผลิตและลดการพึ่งพาแรงงาน เพื่อลดข้อจำกัดด้านแรงงานของไทยที่จะมีมากขึ้น ทั้งจากกำลังแรงงาน และผลิตภาพของแรงงานที่โดตช้า นอกจากนั้นต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยง เพื่อลดความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายในประเทศ และต่างประเทศ สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย จะดูแลในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนระบบการชำระเงิน อันจะเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดดล้อมที่ดีที่จะเกื้อหนุนให้เกิด บรรยากาศที่น่าทำธุรกิจ และลงทุน เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ โดยจะดูแลระดับราคาไม่ให้ผันผวนและอยู่ในวิสัยที่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในกรสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจใช้จ่ายและลงทุนของประชาชน และนักธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ จะติดตามประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งอาจเชื่อมโยงและนำไปสู่ความเสี่ยงทั้งระบบเศรษฐกิจได้ โดยดูแลให้ระบบสถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง และเป็นตัวกลางการทางการเงินที่มีประสิทธิ์ภพ รวมทั้งพัฒนาระบบการชำระเงินให้สะดวกรวดเร็ว และน่าเชื่อถือ Tags : ประสาร ไตรรัตน์วรกุล • ธปท. • แบงก์ชาติ