เปิดแนวทางกกต.ปฏิรูปเลือกตั้ง-ปิดช่องการเมืองทุจริต

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 14 กรกฎาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    ข้อเสนอของ กกต. โดยนายศุภชัย สมเจริญในยุคนี้ อ้างอิงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง ด้วยเจตนาที่ต้องการให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบ ด้วยการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอุปสรรค ปิดช่องไม่ให้คนทุจริต เข้าสู่อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร และข้อเสนอนี้ได้ส่งถึง คสช.แล้ว ด้วยขั้นตอนนั้น จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาแก้ไขกฎหมายและยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของสภาปฏิรูปประเทศต่อไป หากจะอ้างอิงที่มาของผู้แทนปวงชน ในส่วนของ ส.ส. โดยย้อนกลับไป ที่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 กำหนดให้มี ส.ส.ระบบเขต "แบบเขตเดียวเบอร์เดียว" รวม 400 คน และ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ อีก 100 คน ทั้งหมด 2 ระบบ 500 คน

    ว่ากันว่า ต้นแบบที่มาของส.ส.นี้ มาจากประเทศเยอรมนี แต่หลังการบังคับใช้กับการจัดการเลือกตั้ง เมื่อปี 2544 และ ปี 2548 ส่งผลให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อดีและข้อเสียของระบบ รวมไปถึงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นชนวนเหตุของปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะช่องว่างที่เปิดทางให้เกิดการผูกขาด เกิดอิทธิพล เกิดการใช้เงิน และเกิดการครอบงำ รวมไปถึงกรณีผลประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร จนนำมาซึ่งเหตุของการยึดอำนาจรัฐประหารในปี 2549 ที่กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง

    โดยเกิดขึ้นพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่พลิกข้อบัญญัติเรื่องที่มาของส.ส. เป็นการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ 400 คน และการเลือกตั้งแบบบัญชีสัดส่วน รวม 80 คน โดยแบบแบ่งเขตนั้น ให้กำหนดเขตเลือกตั้งขึ้นในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีจำนวนราษฎรทั้งประเทศ เป็นตัวกำหนดเขตพื้นที่และจำนวนส.ส. พร้อมระบุไว้ว่าทุกพรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครครบจำนวนสมาชิก ขณะที่แบบบัญชีสัดส่วนนั้น ให้แบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด 8 กลุ่มตามทะเบียบราษฎร์ และกำหนดให้แต่ละเขต เลือกส.ส.ได้ 10 คน ภายใต้ข้อบังคับว่า ทุกพรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครแบบบัญชีสัดส่วน และไม่จำเป็นต้องส่งทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด แต่ต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนความเหมาะสมและความเท่าเทียมกัน และหลังการเลือกตั้ง เมื่อปี 2554 ฝ่ายการเมือง ในฐานะผู้ใช้กฎหมาย สะท้อนถึงความยากง่ายในเชิงปฏิบัติ พร้อมตั้งข้อครหาว่า เป็นการปิดกั้นมากกว่าการเปิดโอกาสพร้อมกันนั้นยังมีข้อสังเกตถึงการลิดลอนสิทธิเจ้าของอำนาจอธิปไตย นี่ละเหตุที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่มาของส.ส. ให้กลับมามีจำนวน 500 คน โดยแบ่งเป็นเขต 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน และแม้จะต่างกับรัฐธรรมนูญ ปี 2540 แต่หลักการสำคัญกลับเหมือนกัน

    375 คนหรือเขตนั้น ในทางทฤษฎีอาจยังคงเป็นแบบเขตใหญ่ แต่เป็นแบบเรียงเบอร์ แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ต่างกับเขตเดียวเบอร์เดียว เพียงแต่เปลี่ยนวิธีคำนวณการกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ โดยยึดค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 375 หารด้วยจำนวนราษฎรทั้งประเทศ คิดเป็น 1 ส.ส. สิทธิ์ของผู้กากบาทเลือกตั้ง หนึ่งคนหนึ่งเสียง ที่เชื่อกันว่า เสมอภาคและเท่าเทียม และจากส .ส.แบบสัดส่วนที่เคยส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร 8 กลุ่ม ที่คิดคะแนนจากกลุ่มจังหวัดให้ผู้สมัครใน 8 บัญชีที่เสนอ เป็นการคิดคำนวณคะแนนจากทั้งประเทศ แล้วให้ลำดับ 125 ผู้สมัครในบัญชีเดียว แต่ส.ส.ตามคะแนนที่ได้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีการปรับเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งส.ส. เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือในช่วง 7 ปีนี้ ที่กำลังจะมีการแก้ไขกันอีกครั้ง เพื่อลดอุปสรรค

    แต่เมื่อสรุปภาพรวมแล้ว หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดูจะยังคงเดิมอยู่ หากแต่การจัดการเลือกตั้งหรือบุคคลที่ผ่านเข้าสู่กระบวนการ การเลือกตั้งต่างหาก ที่เปลี่ยนแปลงไปและกลายเป็นปัญหาหรืออุปสรรคให้ต้องแก้ไขตลอดเวลา

    จากข้อสังเกตเรื่องหลักเกณฑ์และคน ซึ่งเป็นที่มาของข้อเสนอ ข้อที่ 3 จาก 2 ข้อแรกในการกำหนดที่มาส.ส. นั้น คือการเสนอให้ ส.ส.มีวาระ ละ 4 ปี และให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ หรือ 8 ปีเท่านั้น แต่ข้อเสนอทั้งหมดก็ยังไม่มีการสรุป รอสภาปฏิรูปประเทศสรุปแนวทางการปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง
     

แบ่งปันหน้านี้