(รายงาน) 'บริโภค-ลงทุน'เอกชนชะลอ สะท้อนศก.ไทยยังไม่ฟื้นตัว ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานเศรษฐกิจ' class='anchor-link' target='_blank'>ภาวะเศรษฐกิจในเดือนเม.ย. 2557 แสดงให้เห็นว่าการอุปโภคบริโภคภาคและการลงทุนเอกชนยังน่าห่วง ซึ่งธปท.มองว่า เป็นช่วงที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจ มีรายละเอียดดังนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในเดือนเม.ย. 2557 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน ตามการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทน ขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าคงทนเริ่มปรับดีขึ้นบ้างตามการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายรุ่นสะท้อนกำลังซื้อของครัวเรือนที่ยังมีอยู่ อย่างไรก็ดีหากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การบริโภคของครัวเรือนยังคงหดตัว สะท้อนจากเครื่องชี้ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในเบื้องต้น ที่หดตัว 0.8% ตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์ที่ยังคงมีผลของฐานสูงในปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทน อาทิ การใช้เชื้อเพลิงและการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนทรงตัว เนื่องจากครัวเรือนยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย ตามความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงรวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรในระยะต่อไป การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากฐานะทางการเงินของครัวเรือนยังคงอ่อนแอจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงและกำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ แต่ การใช้จ่ายของครัวเรือนอาจได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นหลังสถานการณ์ทางการเมืองในระยะข้างหน้ามีความชัดเจนมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชน ด้าน การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนยังคงหดตัว สะท้อนจากเครื่องชี้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ในเบื้องต้น ที่หดตัว 4.7% เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวต่อเนื่องตามการซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลง และการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอลงตามภาวะอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการก่อสร้างนอกเขตเทศบาลและอาคารสูง ในระยะข้างหน้า หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง และนโยบายภาครัฐมีความชัดเจนมากขึ้นน่าจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกลับคืนมาได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนภาคเอกชนในภาพรวมให้ปรับตัวดีขึ้น ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2557 หดตัวต่อเนื่องที่ 3.9% จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่ได้รับผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจ' class='anchor-link' target='_blank'>ภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองที่มีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี หากเทียบกับเดือนก่อนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาลแล้ว ปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามการผลิตเพื่อส่งออก หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ (มีการส่งออกน้อยกว่า 30% ของการผลิตรวม) หดตัว 2.5% จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตเบียร์ที่ได้รับผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ และปิโตรเลียมที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก (ส่งออก 30-60%ของการผลิตรวม) หดตัว 16.6% จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการผลิตยานยนต์เป็นสำคัญเนื่องจากผู้ผลิตปรับลดการผลิตลงหลังการส่งมอบรถยนต์ภายใต้มาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกเสร็จสิ้น ประกอบกับความต้องการซื้อยานยนต์ใหม่ชะลอตัว และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้ คำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นยังไม่มากพอที่จะชดเชยคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลงได้ หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก (ส่งออกมากกว่า 60% ของการผลิตรวม) ขยายตัว 1.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือนจาก (1) แผงวงจรรวม (IC) ที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (2) เครื่องนุ่งห่มที่คำสั่งซื้อปรับดีขึ้นในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอาเซียน รวมถึงการผลิตเสื้อผ้าชุดกีฬาสำหรับมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะมีขึ้นในเดือนมิ.ย.นี้ และ (3) เครื่องปรับอากาศที่ขยายตัวตามอุปสงค์ จากทั้งในและต่างประเทศ และการเปิดตัวเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาด การผลิตกุ้งแช่แข็งลดลง เพราะยังคงประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากโรคระบาด สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ที่ 60.7% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน Tags : ภาวะเศรษฐกิจ • ธปท. • แบงค์ชาติ • เศรษฐกิจ • อุปโภค • บริโภค • ไฟฟ้า • ดัชนี