"เทรลเบลเซอร์" ไปได้ทุกที่...ที่อยากไป

หัวข้อกระทู้ ใน 'ยานยนต์' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 23 มิถุนายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ตลาดรถแบบที่ไม่ใช่ซีดาน เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในบ้านเรา โดยเฉพาะแบบยกสูง อาจจะเป็นเพราะความเบื่อรูปทรง

    เดิมๆ หรือไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป หรือเล็งเห็นถึงความจำเป็น ทั้งหนีน้ำ หรือเอาไว้สู้กับหลุมบ่อของถนน

    และรถพวกนี้ก็มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งเอ็มพีวี, ครอสโอเวอร์, พีพีวี หรือว่า เอสยูวี และก็มีตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่

    พีพีวี เป็นตลาดหนึ่งที่ตลาดเติบโต ทั้งจากความนิยม และผู้เล่นในตลาดมีหลายราย ทั้ง โตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิ เชฟโรเลต หรือว่า ฟอร์ด และระดับราคาที่ไม่สูงเกินไป ไม่ต่างจากรถเก๋งขนาดกลาง และถูกกว่าเอสยูวีแท้ๆ เยอะ

    เทรลเบลเซอร์นั้นเป็นน้องสุดท้องในตลาด แต่ก็ทำตลาดมาได้พักใหญ่ และผ่านการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญไปช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก็คือ การปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น

    โดยรุ่น 2.8 ลิตร ซึ่งติดตั้งหัวฉีดเพียโซ่ และปรับปรุงส่วนอื่น ช่วยให้กำลังเพิ่มขึ้น 11% เป็น 200 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดเพิ่มขึ้น 6% เป็น 500 นิวตันเมตร/2,000 รอบต่อนาที ส่วนรุ่น 2.5 ลิตร แรงม้าเพิ่ม 8.6% อยู่ที่ 163 แรงม้า ที่ 3,600รอบ/นาที แรงบิดเพิ่มขึ้น 9% เป็น 380 นิวตันเมตรที่ 2,000 รอบ/นาที ทำงานคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด

    เทรลเบลเซอร์ติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานหลายอย่างมาให้ เช่น กล้องมองหลัง ซึ่งช่วยได้มากกับการถของรถขนาดใหญ่ สูง ส่งภาพผ่านจอทัชสกรีน 8.5 นิ้ว นอกจากนี้ก็ยังมีระบบมายลิงค์ เชื่อมต่อสมาร์ทโฟน ระบบนำทาง ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ และอีโค อินเด็กซ์ ที่จะเก็บข้อมูลการขับขี่ให้ผู้ขับเรียนรู้ว่าจะลักษณะการขับของตนเอง และดูว่าจะทำอย่างไรให้ขับได้ประหยัด

    เป็นรถแบบ 7 ที่นั่ง ซึ่งถือว่าเบาะหลังสุด ซึ่งปกติค่อนข้างจะเป็นปัญหาของรถ 7 ที่นั่งส่วนใหญ่ว่าใช้งานจริงๆไม่ได้ เป็น ที่นั่งเด็กบ้าง เป็น ด็อกซีท บ้าง แต่กับเทรลเบลเซอร์ แม้จะไม่สบายนัก แต่ขนาดและพื้นที่วางเท้าที่มีพอควร ก็ช่วยยืดระยะการนั่งให้ยาวขึ้น โดยไม่เมื่อย

    แต่ถ้าต้องการพื้นที่บรรทุกสัมภาระก็พับเก็บได้ง่ายๆ และได้พื้นที่แบนราบ ช่วยให้บรรทุกของได้มากขึ้น

    ผมลองใช้ชีวิตร่วมกับเทรลเบลเซอร์กว่า 2,000 กม. และพามันไปในเส้นทางที่หลากหลาย ทั้งทางหลวง ทางชนบท ทางวิบาก และทางออฟโรด จะมีก็แต่ทางโคลน ซึ่งหลักการที่ถูกต้องก็คือ ไม่ควรไปคันเดียว เพราะหากพลาดพลั้งติดหลุมติดหล่ม ไม่รู้จะพึ่งพาใคร

    เส้นทางข้ามภาคครับ จากกรุงเทพ เข้าสุพรรณ ไปตัดเข้าเอเชียที่มโนรมย์ ชัยนาท เข้านครสวรรค์ พิษณุโลก มุ่งหน้า อุตรดิตถ์ แพร่ นาน ก่อนจะแตกแยกย่อย เป็นกิ่งเป็นก้าน ไปอำเภอต่าง เวียงสา นาน้อย การเดินทางไกลๆ บนทางหลวงหลักๆ ถือว่าเทรลเบลเซอร์ทำได้ดีครับ เครืองยนต์อัตราเร่งดีโดยเฉพาะการไล่ความเร็วช่วงกลางๆ ไปจนถึงความเร็วสูง ช่วยให้เร่งแซงได้สบายใจ และระดับเสียงในห้องโดยสารก็ใช้ได้ ไม่รบกวนให้รู้สึกรำคาญ

    ในเส้นทางบนเขา เทรลเบลเซอร์ทำได้ดีกว่าที่คาด เพิ่มความมั่นใจในการจัดการกับโค้งได้เยอะ และเมื่อได้กำลังของเครื่องยนต์เข้ามาช่วย ยิ่งทำให้คล่องตัวขึ้นมาก โดยเฉพาะช่วงที่เป็นทาง 2 เลนสวนทาง ต้องอาศัยกำลังเครื่องยนต์เพื่อแซงยาวๆ เพราะไม่เช่นนั้น จะต้องยืดระยะเวลาเดินทางออกไปอีกนาน

    ขณะที่เกียร์ก็ทำงานได้ค่อนข้างนุ่มนวล พวงมาลัยแม่นยำใช้ได้ น้ำหนักดี แต่ที่ความเร็วต่ำ จะหนักๆไปสักหน่อย ส่วนการดูดซับแรงสั่นสะเทือนของช่วงล่าง ก็ไม่ได้ยินผู้โดยสารทั้ง 5 คน บ่นอะไรนะครับ

    ส่วนการขับขี่เส้นทางนอกถนน คันนี้ลุยได้สบาย ความสูงของใต้ท้องรถ ทำให้ผมได้ดูอะไรเพิ่มขึ้นเยอะ และช่วงไต่เนินชัน บนทางดิน ทางกรวด ก็ไม่ยาก เพราะระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ช่วยให้เป็นงานง่าย และก็ปรับง่ายๆ เพียงแค่หมุนปุ่ม ซึ่งทริปนี้เต็มที่ผมใช้แค่ 4H

    ตลอดเส้นทางกว่า 2,000 กม. กับเส้นทางหลากหลาย ทั้งขึ้นเขา ลงเนิน ทางเรียบ ความเร็วปกติ (120-130) และความเร็วแบบเร่งรีบ (140-160) ช่วงถนนโล่งๆ กับคนที่ไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องขับประหยัดอย่างผม ดูตัวเลขที่คอมพิวเตอร์คำนวณอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยประมาณ 13 กม./ลิตร ก็ไม่เลวนะครับ

    Tags : ทดสอบ • โตโยต้า • อีซูซุ • มิตซูบิชิ • เทรลเบลเซอร์

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้