เมื่อ อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เขียนถึง อ.วรเจตน์ กับเหตุเกิดที่สามแยกไฟแดง

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 20 มิถุนายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    หมายเหตุ : อาจารย์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ได้เขียนเฟซบุ๊คถึง อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เพื่อนนักวิชาการ ในมุมมองที่น่าสนใจ ภายหลังจากอาจารย์วรเจตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ถูกดำเนินคดีแจ้งข้อกล่าวหา กรณีไม่ไปรายงานตัว ฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และต่อมาได้รับการพิจารณาประกันตัวปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา

    ---------------------

    ช่วงนี้ข่าวของอาจารย์วรเจตน์อาจจะมีมากอยู่สักหน่อย อย่างน้อยในท้ายที่สุดอาจารย์วรเจตน์ก็ได้รับการประกันตัว และที่สำคัญก็คือสุขภาพของอาจารย์ก็จะได้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่อง


    ผู้คนอาจจะรู้จักอาจารย์วรเจตน์ในฐานะนักวิชาการด้านกฏหมายที่ยืนหยัดในหลักการประชาธิปไตย บางคนอาจจะชื่นชม บางคนอาจจะไม่ชื่นชม


    เรื่องที่ผมจะเขียนถึงอาจารย์วรเจตน์นี้ไม่ใช่เรื่องผลงานวิชาการของท่าน หรือ จุดยืนทางการเมืองบนเวทีประชาธิปไตย แต่ผมอยากเขียนถึงอาจารย์วรเจตน์ถึงเรื่องตอนที่ผมมีโอกาสนั่งรถที่อาจารย์ขับ แล้วเราไปติดอยู่ที่สามแยกไฟแดงแห่งหนึ่ง ขณะที่เรามุ่งหน้าจะไปรับประทานอาหารเย็นกัน


    เรื่องก็คือว่า ขณะที่รถของเราจอดอยู่ที่สามแยกไฟแดงแห่งนั้น เราก็เริ่มรู้สึกว่า เอทำไมไฟแดงนี้มันช่างยาวนานขนาดนั้น แล้วก็มีรถหลายคันที่แซงหน้าเราไปในลักษณะของการ "ฝ่าไฟแดง"


    นั่งรอไปสักพัก เราก็เริ่มกระสับกระส่ายว่าเอ ทำไมใครๆ ก็ฝ่าไฟแดง ต่อมาเราก็เริ่มตั้งคำถามว่าเราอยู่ถูกเลนไหม (ในแง่ที่ว่าเราอาจจะอยู่ในเลนที่ตรงไปได้โดยไม่ต้องรอสัญญานไฟ) ต่อมาเราก็เริ่มมองว่า เออ ไอ้ฝั่งที่มันไฟเขียวรถมันก็หมดแล้ว ถนนก็ว่างเราควรไปไหม


    สุดท้ายเราก็เริ่มสงสัยว่า ไฟแดงนั้นมันเสียหรือเปล่า


    สรุปว่าทั้งหมดเราพยายามค้นหาหลักฐานและตีความเพื่อที่ให้เรา "ไปได้" ทั้งที่ "ไฟยังแดงอยู่"


    ผม นั่งยิ้มๆ ดูอาจารย์วรเจตน์ ที่นั่งอยู่หลังพวงมาลัยขณะที่อาจารย์และพวกเราซึ่งรวมทั้งสมาชิกอีกสองท่าน ที่นั่งอยู่เบาะหลังเริ่มตั้งคำถามโน่นนี่แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ ท่ามกลางคำถามโน่นนี่ และข้อสมมุติฐานมากมายที่มีกันอยู่ในรถ คืออาจารย์วรเจตน์ไม่เคลื่อนรถออกไปจากไฟแดงแห่งนั้น แม้ว่าผู้คนในรถทั้งหมดจะเริ่มสงสัยว่าตกลงไฟแดงนี้มันเสียหรือเปล่า


    อีกไม่นานไฟแดงข้ามศตวรรษที่เราเคยสงสัยว่ามันน่าจะเสีย มันก็เปลี่ยนเป็นไฟเขียว และอาจารย์วรเจตน์ก็ขับรถออกไปด้วยความมั่นใจ ...
     

แบ่งปันหน้านี้