ไอเอ็มดีชี้การเมืองลบจ่อลดอันดับขีดแข่งขันไทย

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 14 พฤษภาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    "ไอเอ็มดี"ชี้การเมืองส่งผลลบ ฉุดอันดับความสามารถแข่งขันของไทยปีนี้ มีแนวโน้มร่วงจากอันดับ 27

    สถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มดี ของสวิตเซอร์แลนด์ นำโดยนายโดมินิก เทอร์ปิน ประธาน เดินทางมาประเทศไทย เพื่อเก็บข้อมูลช่วงต้นสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันได้มาพบสื่อในเครือ"เดอะ เนชั่น" และร่วมพูดคุย สอบถามความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มอันดับความสามารถแข่งขันของประเทศไทยในปี 2557

    โดย เขาบอกว่า มีความเป็นไปได้ที่อันดับขีดแข่งขันของไทยจะลดลง เพราะปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นลากยาวมาตั้งปลายปี 2556 ที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ ทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพ และไม่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารจัดการนโยบายประเทศขณะนี้ได้

    นอกจากนี้ ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ ทางไอเอ็มดี จะประกาศผลการสำรวจ และจัดอันดับความสามารถแข่งขันของ 60 ประเทศรวมทั้งไทยในปี 2557 จากการจัดอันดับปี 2556 ไทยอยู่อันดับ 27 และมาเลเซียอยู่อันดับ15

    ต่อข้อถามที่ว่าปัญหาวิกฤตการเมืองยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อการความสามารถแข่งขันของไทยในเวทีโลกอย่างไร นายเทอร์ปิน กล่าวว่า กระทบแน่นอน เพราะธุรกิจทั่วโลกชอบความแน่นอนและมีเสถียรภาพ ดังนั้นในช่วงเวลาที่ไม่มีความแน่นอน นักธุรกิจก็จะชะลอการลงทุนของตัวเอง และชะลอการทำวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี)

    การเมืองกระทบการลงทุน

    นายเทอร์ปิน มองดีในแง่โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยเฉพาะภาคการผลิตของไทย ยังแข็งแกร่งอยู่มาก แต่ถ้าหากการเมืองยืดเยื้อแรงจูงใจทำให้เกิดการลงทุนใหม่ ทั้งของภาครัฐและเอกชนในไทยก็จะไม่เกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นเรื่องย้อนกลับมากระทบขีดความสามารถแข่งขัน และโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศได้

    การพิจารณาจัดอันดับขีดแข่งขันของไอเอ็มดี โดยทั่วไป ไอเอ็มดี จะดูจากโครงสร้างพื้นฐานและผลประกอบการทางเศรษฐกิจ ดูผลการดำเนินงานและการบริหารงานของรัฐบาล ภาวะแวดล้อมทางการเมือง พัฒนาการด้านการศึกษา การลงทุนด้านอาร์แอนด์ดีและนวัตกรรม เป็นต้น

    สำหรับการศึกษาของไทยเวลานี้ นายเทอร์ปิน เชื่อว่า ไทยมีความสามารถแข่งขันค่อนข้างสูงอยู่ ในด้านการให้ความรู้สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่ติงว่ายังมีหลายเรื่องที่เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาข้างต้น ที่ยังมีปัญหาส่งผลกระทบต่อขีดแข่งขันของไทยอยู่

    "ถ้าเปรียบเทียบอันดับของไทยจากปีก่อน มีแนวโน้มเป็นไปได้ที่อันดับจะลดลงในปีนี้ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาเหตุการณ์การเมือง จะกระทบต่ออันดับขีดความสามารถแข่งขันของไทยมากน้อยเพียงใด แต่ปัญหาเกิดขึ้นได้สถานการณ์มาช่วยชดเชยเมื่อมีบริษัทใหญ่ของไทยอย่างปูนซีเมนต์ไทยหรือปตท.ขยายการลงทุนเชิงรุก ออกไปในตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพื่อยกระดับบริษัทเป็นผู้เล่นในระดับภูมิภาค"

    เมื่อให้เทียบอันดับ 27 ของไทยกับมาเลเซีย ซึ่งอยู่อันดับ 15 ในปีที่ผ่านมานั้น นายเทอร์ปิน บอกว่า การที่มาเลเซียได้อันดับ 15 ปีก่อน เป็นเพราะการเมืองของมาเลเซียมีเสถียรภาพมากกว่าและดีกว่า มีความได้เปรียบจากทรัพยากธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาการศึกษาโดยเฉลี่ยทำได้ดีกว่า มีการลงทุนในอาร์แอนด์ดีซึ่งทำได้ดี และมากกว่าไทย

    เขาอธิบายว่า ในแง่อาร์แอนด์ดี หากวัดกันแล้วไทยใช้จ่ายน้อยกว่ามาเลเซีย เพราะในอดีตบริษัทไทยรับจ้างผลิตสินค้า เลยไม่สนใจคิดค้นอะไรใหม่ๆ แต่ตอนนี้ต้องการให้บริษัทไทยที่คุ้นเคยกับการลงทุนรับจ้างผลิตแต่สินค้าให้หันกลับมาใส่ใจ ไม่ใช่แค่เรื่องลงทุนมากขึ้นด้านอาร์แอนด์ดี แต่ตอนนี้ต้องคิดใส่ใจกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วย ซึ่งในเชิงลึกแล้ว มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างขีดแข่งขันให้กับไทย

    มองผู้บริหารไทยต้องปรับตัว

    ต่อข้อสงสัยที่ว่า อาเซียนจะกลายเป็นเออีซีในปีหน้า นายเทอร์ปิน แสดงความรู้สึกค่อนข้างเป็นห่วง เพราะการเมืองทำให้ไม่มีรัฐบาลที่เข้ามาวางนโยบายในการรับมือเตรียมพร้อมเข้าเป็นสมาชิกเออีซี และถ้าพูดถึงเตรียมตัวอย่างไรคงเป็นเรื่องสายเกินไปที่จะทำ แต่ที่มองเห็นคือบริษัทใหญ่อย่างปูนซิเมนต์ไทยและปตท. เตรียมตัวกันล่วงหน้ามานานแล้วหลายปีแล้ว ที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นๆ และบริษัทเหล่านี้รู้แล้วว่าต้องปรับปรุงขีดแข่งขันของตัวเองอย่างไร

    แต่ปัญหาท้าทายของธุรกิจไทย และเป็นจุดอ่อนของบริษัทไทย อยู่ที่การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ให้ออกไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อบริหารคนทำงานที่ไม่ใช่คนไทย ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ว่าผู้บริหารไทยมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เพราะผู้บริหารไทยค่อนข้างอนุรักษนิยม และมีปัญหาด้านการปรับตัวในวัฒนธรรมที่แตกต่าง และผู้บริหารไทยไม่นิยมทำงานในต่างประเทศ และชอบทำงานอยู่แต่ในบ้านของตัวเอง ทำให้ผู้บริหารไทยไม่มี หรือขาดประสบการณ์ เมื่อเทียบกับผู้บริหารของสิงคโปร์และมาเลเซียที่ออกไปทำงานในต่างประเทศมากกว่า

    "หากต้องไปทำงานตามประเทศอาเซียนอื่น ผู้บริหารไทยจะเจอปัญหาเรื่องปรับตัว ปรับชีวิตความเป็นอยู่ ไม่รู้ว่าจะสามารถอยู่ได้หรือไม่ ตรงนี้ถือเป็นทักษะการทำงานในลักษณะเป็นซอฟท์สกิล หรือทักษะค่อนข้างอ่อนไหวต้องปรับตัวเพื่อการทำงาน ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาขีดแข่งขันให้เศรษฐกิจและธุรกิจของไทยด้วย"

    ทั้งนี้เขาแนะนำว่า หากไทยต้องการพัฒนาประเทศ ให้มีขีดความสามารถแข่งขันสูงขึ้นจากอันดับ 27 ในปี 2556 ให้ขึ้นไปอยู่ในกลุ่มประเทศมีขีดแข่งมากสุด 20 อันดับแรก จากทั้งหมดที่ไอเอ็มดีสำรวจ 60 ประเทศทั่วโลกให้ได้นั้น ไทยต้องลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน ต้องลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา หรือ อาร์แอนด์ดีเพิ่ม พัฒนาการศึกษาไปพร้อมๆ กับการสร้างบรรยากาศและภาวะแวดล้อมทางการเมืองที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ซึ่งมีช่วยสำคัญสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศและภาคธุรกิจ

    ธุรกิจ-ตลาดพึ่งพาภาครัฐมากเกินไป

    นอกจากนี้ภาคธุรกิจและตลาดในประเทศ ไม่ควรจะพึ่งพาภาครัฐมากเกินไป ธุรกิจควรพัฒนาตัวเอง ด้วยการเพิ่มการลงทุนในส่วนเกี่ยวกับนวัตกรรม อาร์แอนด์ดี สร้างแบรนด์ตัวเองให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น พร้อมกับลงทุนพัฒนาให้ความรู้การศึกษากับแรงงานมากขึ้น แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น การสร้างความเชื่อมั่นก็เป็นสิ่งสำคัญ

    ชูจีนตัวอย่างที่ดีการเมืองมั่นคง

    ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เมื่อให้เสนอความเห็นเป็นทางออกของไทย ในช่วงเกิดเหตุการเมืองวุ่นวายขณะนี้ นายเทอร์ปิน ยอมรับว่า การเมืองเป็นเรื่องมีความสลับซับซ้อน แม้แต่คนไทยเองยังเข้าใจได้ยาก จึงเป็นเรื่องยากมากกว่าสำหรับชาวต่างชาติอย่างเขาที่จะเข้าใจในสถานการณ์เกิดขึ้น แต่เขาก็คาดหวังให้ทุกฝ่ายไม่ว่า จะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านจะได้ข้อยุติ เจรจากันแบบสันติและไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้น เพราะนักธุรกิจทั่วโลกต้องการความมีเสถียรภาพ

    "นอกจากการลงทุนมากขึ้นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ลงทุนด้านการศึกษา ลงทุนอาร์แอนด์ดี เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ แล้ว ไทยจำเป็นต้องได้ความเชื่อมั่นในบรรยากาศการเมืองที่มีเสถียรภาพมาช่วยสนับสนุน หลายอย่างตอนนี้ที่ไม่ดี เพราะมีเรื่องเกี่ยวกับความไม่มั่นคงไม่มีเสถียรภาพ ดูอย่างจีนรัฐบาลทั้งๆ ที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย แต่ก็สามารถที่จะเป็นรัฐบาลมีเสถียรภาพ ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจสามารถเติบโตต่อไปได้"

    โดยนายเทอร์ปิน เชื่อว่า ช่วง 5 ปีข้างหน้า จีนยังสามารถทำเศรษฐกิจให้มีการเติบโตต่อเนื่องที่ระดับ 7% ขณะที่ตลาดจีนมีประชากรมากกว่า 2.5 พันล้านคน ซึ่งเป็นตลาดมีขนาดใหญ่มาก ดึงดูดใจให้ลงทุนในอนาคต

    ปัจจุบันรัฐบาลจีนพัฒนาปฏิรูปเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี และกำลังดำเนินการเพื่อให้แน่ใจได้ว่าประชาชนจะมีงานทำ ซึ่งจีนรู้ว่าต้องโตไม่ต่ำกว่า 7% ต่อปี เพื่อช่วยให้เกิดตำแหน่งงานเพียงพอ ดังนั้นการมีเสถียรภาพในสังคมจึงสำคัญ แต่หลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยกลับไม่สามารถทำได้เหมือนจีน เพราะมีปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนและไม่มีเสถียรภาพ

    Tags : โดมินิก เทอร์ปิน • ไอเอ็มดี • การเมือง • อันดับแข่งขันไทย

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้