EMC เปิดตัว VSPEX Blue เซิร์ฟเวอร์สตอเรจสำเร็จรูปแบบ Hyper-Converged Infrastructure

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 6 มีนาคม 2015.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ทิศทางของโลกสตอเรจในช่วงหลังเริ่มมีอุปกรณ์จำพวก converged infrastructure หรือ CI เข้ามามากขึ้น อุปกรณ์แบบนี้คือการผนวกเอาหน่วยประมวลผล สตอเรจ เครือข่าย และระบบจัดการเข้ามาเป็นเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวเพื่อให้ง่ายแก่การดูแล เริ่มมีลักษณะเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป (appliance) มากขึ้นกว่าเดิม ข้อดีของอุปกรณ์แบบ CI คือบริหารจัดการง่าย ติดตั้งง่ายเหมือนต่อเลโก้ พังก็เปลี่ยนทั้งตัวเลย ส่วนข้อเสียคือปรับแต่งได้น้อย ทำให้ไม่เหมาะกับงานบางประเภท

    เดือนที่แล้ว เจ้าพ่อสตอเรจอย่าง EMC เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ VSPEX Blue (อ่านว่า วีสเปก บลู) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ EMC เรียกว่า hyper-converged คือมีลักษณะเป็น appliance แบบสุดตัว ปรับแต่งแทบไม่ได้เลย แต่ก็สะดวกในการติดตั้งมากยิ่งขึ้นไปอีก แค่ต่อสายไฟ กดปุ่ม ก็แทบจะใช้งานได้ทันที

    [​IMG]

    เดิมทีนั้น EMC มีอุปกรณ์สาย CI อยู่บ้างแล้วคือ VSPEX (รุ่นไม่มี Blue ต่อท้าย) และ VBLOCK แต่ในปี 2015 ก็มีอุปกรณ์เตรียมเปิดตัวอีก 2 รุ่นคือ

    • VSPEX Blue ที่เป็นอุปกรณ์ hyper-converged (เปิดตัวแล้ว)
    • อุปกรณ์กลุ่ม rackscale system สำหรับรันคลาวด์ที่ปรับแต่งได้มากขึ้น (เปิดตัวครึ่งหลังของปีนี้)

    [​IMG]

    อุปกรณ์แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดย VSPEX และ VBLOCK เป็นช่วงเริ่มต้นของอุปกรณ์สาย CI ที่ผู้ขายเริ่มรวมฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นเข้าด้วยกัน (EMC แต่เดิมไม่ได้ขายเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่าย พอมาทำ CI ก็ต้องทำด้วย) จุดเด่นของมันคือเป็นชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ EMC ทดสอบแล้วว่าทำงานด้วยกันได้ดี มีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง

    ส่วน VSPEX Blue ฉีกแนวไปอีกทางคือเน้นความง่าย ปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย แต่ราคาถูก ตัดสินใจซื้อได้ง่าย และถ้าอยากขยายขนาดก็สั่งซื้อเพิ่มมาต่อกันได้

    [​IMG]

    VSPEX Blue อยู่ในร่างของเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U หนึ่งตัว เซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวประกอบด้วย 4 node แต่ละ node กำหนดสเปกมาให้เรียบร้อยแล้ว (เปลี่ยนไม่ได้) คือเป็นซีพียู Intel Ivy Bridge, ช่องเสียบแรม 8 ช่อง, Gigabit Ethernet, ใส่ดิสก์ขนาด 2.5" ได้ 4 ลูก

    [​IMG]

    จุดเด่นของ VSPEX Blue คือมีรุ่นย่อย (SKU) เพียงรุ่นเดียว ดูแลง่ายในระยะยาว และถ้าต้องการขยายขนาด (scale) เพิ่มก็สามารถซื้อ VSPEX Blue มาต่อกันได้สูงสุด 4 ตัว (รวม 16 node) เหมาะกับองค์กรที่อยากได้สตอเรจ แต่ยังไม่กล้าตัดสินใจทุ่มเงินก้อนใหญ่ ก็สามารถซื้อเครื่องเดียวมาทดสอบก่อนได้

    [​IMG]

    ทีมของ EMC Thailand บอกกับผมว่าฟีเจอร์ของ VSPEX Blue ที่เหนือกว่าคู่แข่งคือระบบบริหารจัดการ และบริการซัพพอร์ต

    ส่วนของระบบบริหารจัดการ มีซอฟต์แวร์ VSPEX Blue Manager ที่เป็นร่างอวตารของ VMware EVO:RAIL (บริษัทในเครือ EMC) มาให้ คนที่คุ้นกับระบบของ VMware อยู่แล้วสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องหัดใหม่ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์เสริมที่ช่วยด้าน recovery/backup/ต่อเชื่อมกับ public cloud ให้เสร็จสรรพ

    ส่วนบริการซัพพอร์ตใช้บริการของ EMC Global ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง (ย้ายศูนย์บริการไปทั่วโลกตามพระอาทิตย์)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ข้อเสียของ VSPEX Blue ก็เป็นมุมกลับของข้อดี คือเนื่องจากมันเน้นความง่าย ปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย มันจึงเหมาะสำหรับงานบางประเภท เช่น แอพพลิเคชันธุรกิจทั่วไป หรือ สตอเรจสำหรับ Virtual Desktop (VDI) ของพนักงานในองค์กร แต่ถ้ามีความต้องการพิเศษอย่างต้องรันงานที่ใช้ GPU เยอะๆ ก็คงต้องไปใช้โซลูชันเฉพาะทางอย่างอื่นแทน

    ที่มา - EMC

    EMC, Storage, Enterprise
     

แบ่งปันหน้านี้