'สสว.'วางแผน5ปีดันรายได้เอสเอ็มอี

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 20 มกราคม 2015.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    "สสว." วางแผน5ปีดันรายได้เอสเอ็มอี เพิ่มสัดส่วนจีดีพีเอสเอ็มอีปีละ1% ร ายได้เพิ่ม 3 แสนล้านบาทต่อปี

    สสว.วางแผนแม่บท 5 ปี ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนจีดีพีเอสเอ็มอีปีละ 1% สร้างรายได้เพิ่ม 3 แสนล้านบาท/ปี พร้อมตั้งงบประมาณบูรณาการเอสเอ็มอีทั้งระบบ ป้องกันทำงานซ้ำซ้อน แก้ปัญหาได้ตรงจุด พร้อมเพิ่มผู้ส่งออกใหม่ไม่ต่ำกว่า 1.6 พันราย/ปี

    น.ส.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผย สสว. อยู่ระหว่างการร่างแผนแม่บทส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ฉบับที่ 4 เพื่อประกาศใช้ 5 ปี พ.ศ.2560-2564 โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนจีดีพีของเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นปีละ 1% หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท ซึ่งสัดส่วนจีดีพีของเอสเอ็มอีที่เพิ่มขึ้น จะเป็นการยกระดับประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง เนื่องจากมีพื้นฐานผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศเข้มแข็ง

    “ที่ผ่านมาสัดส่วนจีดีพีของเอสเอ็มอีไทยเคยสูงถึงระดับ 42% แต่ภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจของเอเชีย ก็ทำให้สัดส่วนตรงนี้ลดลงเรื่อยๆ จนถึงระดับ 37% มีมูลค่าประมาณ 4.45 ล้านล้านบาท ทั้งนี้หากผลักดันมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีตามแผนแม่บทฉบับใหม่ ก็คาดว่าในปี 2559 สัดส่วนจีดีพีเอสเอ็มอีจะเพิ่มเป็น 38%ซึ่งในเรื่องนี้เป็นโจทย์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญสูงสุด” น.ส.วิมลกานต์ กล่าว

    แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ยังได้กำหนดให้จัดทำงบประมาณแบบบูรณาการงานส่งเสริมเอสเอ็มอีได้มอบหมายให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาการจัดทำงบประมาณลักษณะบูรณาการฯ ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมเอสเอ็มอี และร่วมพิจารณากลั่นกรองแผนงานส่งเสริมเอสเอ็มอี ที่ครอบคลุมทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคเกษตรแปรรูป และในทุกวงจรของการดำเนินธุรกิจ

    แนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีหลังจากนี้ จะมุ่งเน้นในการเพิ่มผู้ส่งออกเอสเอ็มอีรายใหม่ได้ให้ไม่ต่ำกว่า 1.6 พันรายต่อปี ซึ่งจากสถิติปัจจุบันเอสเอ็มอีที่ส่งออกจะมีรายได้เฉลี่ยรายละ 80 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะทำให้เอสเอ็มอีใหม่เหล่านี้สร้างรายได้จากการส่งออกเพิ่ม 1.2 แสนล้านบาท/ปี

    นอกจากนี้จะต้องเพิ่มศักยภาพแรงงาน โดนค่าเฉลี่ยแรงงานในธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสร้างรายได้ประมาณ 4.3 แสนบาท/ปี น้อยกว่าคู่แข่งมาเลเซียที่ทำได้ 4.9 แสนบาท/ปี ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเพิ่มศักยภาพแรงงานให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่ง

    สสว. ยังจะให้ความสำคัญในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลาง เนื่องจากในขณะนี้ไทยมีผู้ประกอบการขนาดกลางเพียง 1.3 หมื่นราย หรือคิดเป็น 0.5% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศ ซึ่งในสัดส่วนที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับ 5-10% ขณะที่มาเลเซียก็มีสัดส่วนเกือบ 5% นับว่าสูงกว่าไทยมาก โดยปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กก้าวขึ้นมาเป็นขนาดกลางได้ยาก สาเหตุหลักๆ มาจากความผันผวนทางการเมือง น้ำท่วมใหญ่ วิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และแรงงานมีฝีมือ

    ส่วนในปี 2558 สสว. จะเดินหน้าให้การส่งเสริมใน 54 เครือข่ายคลัสเตอร์ ที่ประกอบด้วยกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และบริการ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครอบคลุมในมิติด้านการยกระดับกระบวนการผลิต การปรับปรุงระบบการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ และการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับกลุ่มเครือข่ายเอสเอ็มอี โดยในปีนี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 1 หมื่นราย

    Tags : น.ส.วิมลกานต์ โกสุมาศ • สสว. • เอสเอ็มอี

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้