แบงก์ชาติห่วงเอ็นพีแอลเพิ่มหลังศก.ชะลอ

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 15 มกราคม 2015.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    แบงก์ชาติ ห่วงเอ็นพีแอลเพิ่มอยู่ที่ 2.34% หลังเศรษฐกิจชะลอตัว ระบุสัญญาณชัดในสินเชื่ออุปโภคบริโภค

    นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้สินเชื่อชะลอลงโดยโตเพียงร้อยละ 5 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2557 และคุณภาพสินเชื่อด้อยลงบ้าง โดยระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ขยับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.15 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 2.34 ในไตรมาส 3 ปี 2557 โดยเฉพาะNPLสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.20 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.65 ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอลง แต่ธปท.ได้ให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการกันสำรองให้มากขึ้นโดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 1.35 เท่าต่อNPL ดังนั้นจึงมีเพียงพอสำหรับการดูแลคุณภาพNPL

    อย่างไรก็ตามไตรมาส1/58 ตัวเลขNPL ยังเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัว และคาดทรงตัวในปีนี้

    “ธปท.ยอมรับว่ามีความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพสินเชื่อรายย่อยและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคในประเทศที่อาจด้อยลงจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งความกังวลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนเพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเปาะบางและนะโยบายการเงินของกลุ่มประเทศหลักมีแนวโน้มแตกต่างกัน”นางทองอุไร กล่าว

    ส่วนในปี 2558 ที่คาดการณ์ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ร้อยละ 4 ทำให้ธนาคารพาณิชย์จะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อโตร้อยละ 7 โดยสินเชื่อธุรกิจที่จะขยายตัวได้ดี คือ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสาธารณูปโภค ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะมุ่งสู่การเป็นดิจิตอลแบงกิ้ง ลดต้นทุนของธนาคาร ขยายฐานลูกค้า รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากปริมาณธุรกรรมที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและป้องกันการทุจริต

    นอกจากนี้ธปท.ได้ทำการทดสอบภาวะวิกฤติ เพื่อประเมินฐานะและความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับภาวะวิกฤติได้ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ขยายตัว 2 ปีติดต่อกัน แต่ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงถึงร้อยละ 14.8 และ หากเศรษฐกิจได้รับผล กระทบในเชิงลบจนประเทศถูกลดอันดับลง เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงก็ยังสูงถึงร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่อยู่ที่ร้อยละ 15.6

    Tags : ทองอุไร ลิ้มปิติ • แบงก์ชาติ • ธปท. • เอ็นพีแอล • เศรษฐกิจ

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้