เชื่อมั่นศก.-รายได้กดดันการบริโภค

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 11 มกราคม 2015.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    แบงก์ชาติ เผย ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต กดดันการบริโภค แม้ราคาน้ำมันลง


    นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าการที่ราคาน้ำมันลดลง จะช่วยให้ประชาชนมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้นผ่าน 2ทาง คือ ค่าใช้จ่ายหมวดพลังงานและค่าเดินทางที่ลดลง ซึ่งเป็นผลดีทางตรง และต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลดีทางอ้อม แต่เนื่องจากราคาพลังงานเป็นเพียงต้นทุนบางส่วนของการผลิตสินค้าต่างๆ ดังนั้นที่ผ่านมาผลดีส่วนนี้คงยังไม่ชัดเจน แต่ในกรณีที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง เชื่อว่าผลดีผ่านราคาสินค้าอื่นๆ จะค่อยๆ เห็นชัดเจนขึ้น และทำให้ประชาชนจะมีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น ซึ่งประชาชนจะเอาเงินที่ได้เพิ่มขึ้นไปใช้จ่ายหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นด้วย เช่น ความเชื่อมั่นในรายได้ในอนาคต หากประชาชนมีความเชื่อมั่น ก็จะมีการบริโภคสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ค่อยเชื่อมั่น ประชาชนอาจจะเลือกที่จะออมเงินส่วนที่เพิ่มขึ้นมาไว้แทนการใช้จ่าย

    “ ธปท. อยากจะให้ความมั่นใจว่า แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช้ากว่าที่เราเคยคาดไว้บ้าง แต่ก็อยู่ในทิศทางของการปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้จะเห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และการบริโภคของประชาชนน่าจะฟื้นตัวได้เข้มแข็งขึ้นกว่าปีที่แล้ว” นายจิรเทพ กล่าว

    ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมานาน ทำให้ผู้ฝากหันไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ส่งผลให้เงินฝากขยายตัวชะลอลงบ้าง แต่ไม่ได้มีผลต่อสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์(ธพ.) โดยรวม เนื่องจากที่ผ่านมา ธพ. ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือก เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน ผ่าน บลจ. ในเครือ ธพ. ซึ่ง ธพ. สามารถโยกเงินจาก กองทุนรวมตลาดเงิน กลับมาเป็นฐานะเงินฝากเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อหากเศรษฐกิจฟื้นตัวในอนาคต เงินฝากที่ถอนไปลงทุนในตราสารหนี้และหุ้นภาคเอกชน ท้ายสุดจะกลับเข้ามาในฐานเงินฝากของระบบ ธพ. ทั้งนี้ แนวโน้มการระดมทุนผ่านตลาดทุนโดยตรงสะท้อนบทบาทของตลาดทุนในการเป็นแหล่งระดมทุนให้กับภาคธุรกิจ เสริมจากบทบาทของธนาคารพาณิชย์

    สำหรับเม็ดเงินที่จะไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 100,000 ล้านบาท หากภาครัฐนำเงินออกใช้โดยเร็ว เงินที่กู้ไปจะไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สุทธิแล้วจึงไม่เป็นการดูดสภาพคล่องออกไป แต่หากรัฐบาลกู้ไปแล้วเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินคงคลัง สภาพคล่องนั้นจะหายไปจากระบบ ดังนั้นการกู้เงินของรัฐบาลจะกระทบสภาพคล่องหรือไม่ขึ้นกับว่ารัฐบาลใช้จ่ายได้เร็วเพียงใด หากการใช้จ่ายเป็นไปโดยเร็วตามที่รัฐบาลตั้งใจ ก็ไม่ต้องกังวลว่าสภาพคล่องจะหายไป

    ทั้งนี้ ในภาพรวม ธปท. มีหน้าที่ดูแลให้สภาพคล่องมีความสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่แล้ว และมีข่องทางการปรับสภาพคล่องหลายช่องทางกับสถาบันการเงิน จึงไม่ใช่ประเด็นที่น่าเป็นห่วง สำหรับการออกของภาครัฐก็มีการวางแผนล่วงหน้าอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อสภาพคล่อง

    Tags : จิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา • แบงก์ชาติ • ธปท. • ความเชื่อมั่น • เศรษฐกิจ

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้