กต.ชี้คสช.เรียกฑูตในอังกฤษรายงานตัวไม่เกี่ยวสัมพันธ์

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 2 มิถุนายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    โฆษก กต. ระบุ คำสั่ง คสช. เรียกฑูตไทยในอังกฤษรายงานตัวตามความเหมาะสม ไม่เกี่ยวความสัมพันธ์ ขณะ ตปท.ห่วงสถานการณ์ไทย ส่วนกรณี เรือน้ำมัน อรพิน 4 อยู่ระหว่างหาข้อเท็จจริง

    นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวชี้แจงถึงกรณีที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีคำสั่งให้ นายปสันน์ เทพรักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กลับมารายงานตัวต่อ คสช. ว่า เป็นการพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ในส่วนของตำแหน่งรักษาราชการแทนนั้น จะเป็นหน้าที่ของเอกอัคราชฑูตตำแหน่งรองลงไป สามารถรักษาการต่อได้โดยไม่ต้องมีการแต่งตั้ง
    ส่วนกรณที่ เรือบรรทุกน้ำมัน เอ็มพี อรพิน 4 จากประเทศไทย ที่เดินทางมาพร้อมกับลูกเรือ 14 ราย อาจจะถูกโจรสลัดบุกจี้ หลังเรือขาดการติดต่อไป ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น ได้มีการประสานกันตลอดกับกองทัพเรือของประเทศอินโดนีเชีย ซึ่งตอนแรกคาดการณ์ว่า อาจเป็นโจรสลัด แต่ล่าสุดพบเรือแล้ว ซึ่งทหารเรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างหาข้อเท็จจริง พร้อมระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ และแสดงว่า ไทยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาโจรสลัด



    กต.เผย ตปท.เป็นห่วงไทยกับปัญหาที่เกิดขึ้น

    นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงถึงผลการประชุมความมั่นคงแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ แชงกรีลา ไดอะล็อก โดย นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงต่อประเทศที่เข้าร่วมประชุม ถึงแนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ หรือ โรดแมปการทำความเข้าใจ กับบรรดาหุ้นส่วนทั้งทางด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการปฏิรูปทางการเมือง

    ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เอง ได้ผ่อนคลายมาตราการต่าง ๆ แล้ว ทั้งการปล่อยตัวผู้ต้องหา และการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งหลายประเทศต่างแสดงความเป็นห่วงและต้องการให้ไทยจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อเข้าสู่กระบวนการของประชาธิปไตย อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย ที่ได้มีท่าทีตอบโต้และประกาศลดระดับความสัมพันธ์ ทางการทหาร และพิจารณาการเดินทางเข้าประเทศของผู้แทนฝ่ายต่างๆ กับประเทศไทยนั้น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอให้ทั้ง 2 ประเทศ คำนึงถึงความสัมพันธ์ และความร่วมมือในทุกมิติที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งมั่นใจว่านานาประเทศจะนำคำชี้แจงของไทยกลับไปพิจารณา ซึ่งขณะนี้มี 39 ประเทศ กับ 3 องค์กร แสดงท่าทางตอบโต้และแสดงความเป็นห่วงประเทศไทย และมี 19 ประเทศ แนะนำหลีกเลี่ยงการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ จะเร่งทำความเข้าใจ
    ต่อไป

    อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ในวันนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปพบปะหารือแบบทวิภาคี กับผู้นำสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในฐานะประธานอาเชียน เพื่อชี้แจงสถานการณ์ต่างๆของไทย พร้อมระบุ ว่า ประเทศอาเซียนได้แสดงความเป็นห่วงไทย เพราะไทยถือเป็นเขตเศรษฐกิจอาเชียนประเทศที่ 2 และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในอาเชียน
     

แบ่งปันหน้านี้