'สุภัทรา' เเถลง กรรมาธิการการเมือง ร่วมหารือใช้เหตุผล-เลี่ยงโหวต ต้องสรุปที่มานายกฯ-ส.ส.-ส.ว. ภายใน 12 ม.ค. 58 เช้านี้ 'บวรศักดิ์' นัด กมธ.ยกร่าง ถกปมที่มา นายกฯ-รูปแบบเลือกตั้ง นางสุภัทรา นาคะผิว โฆษก กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ เเถลงผลการประชุมของคณะกรรมมาธิการ เกี่ยวกับประเด็นการประชุมเรื่องการกระจายอำนาจเเละการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประเด็นของคณะกรรมาธิการ ชุดที่ 9 กรอบแนวคิดหมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องความเหลื่อมล้ำเเละความเป็นธรรมในสังคม โดยประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือประเด็นที่เป็นเรื่องของสิทธิเเละเสรีภาพของประชาชนขั้นพื้นฐาน เเละการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของรัฐได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งประเด็นหลักจะอยู่ที่การสรุปวาระการประชุมเรื่องการได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. นายกรัฐมนตรี เเละคณะรัฐมนตรี ว่าจะมีคุณสมบัติเเละที่มาอย่างไร ซึ่งทางคณะกรรมาธิการด้านการเมืองนั้นได้ทำการศึกษามาอย่างหลากหลายแนวทางเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 12 มกราคม 2558 แต่กรอบเบื้องต้นนั้นก็สามารถปรับเเก้ได้ตามความเหมาะสมด้วยเช่นกัน ส่วนความคิดเห็นนอกรอบของบรรดาสมาชิกที่ได้ปรึกษากันนั้น บรรดาสมาชิกกำลังศึกษาเเละประมวลผลการศึกษาอย่างอิสระเเละหลากหลาย โดยจะพยายามพูดคุยกันด้วยเหตุผลมากกว่าที่จะเป็นการโหวต โดยเฉพาะประเด็นผู้นำทางการเมือง จะมีการหารือกันภายในวันที่ 23 ธ.ค. นี้ 'บวรศักดิ์' นัด กมธ.ยกร่าง ถกปมที่มานายกฯ-รูปแบบ ลต. บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แม้ไม่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานการประชุม ได้นัดกรรมาธิการประชุม โดยจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปการจัดรูปแบบองค์กรทางการเมือง โดยเฉพาะข้อเสนอให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง และระบบรัฐสภา คาดว่าจะได้แนวทางเบื้องต้น ก่อนนำไปร่างไปพิจารณาเป็นรายมาตรา ซึ่งประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ยังเป็นที่ถกเถียงจากหลายฝ่าย ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มองว่า การเลือกโดยตรงจะเป็นการให้อำนาจมากเกินไปและเข้าข่ายระบบซูเปอร์ประธานธิบดี ขณะที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ยืนยันว่า ไม่ใช่ระบบดังกล่าว ยังใช้ระบบรัฐสภา และแยกอำนาจกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ 'ถวิลวดี' ยัน ไร้พิมพ์เขียวรธน.พอใจปชช.เสนอความเห็น น.ส.ถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปประเทศ ยังคงมีการดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง ในทุกช่องทาง จดหมาย อีเมล์ และการเดินทางมายื่นด้วยตนเอง ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค รวมถึงจะมีการประเดิมเปิดเวทีในต่างจังหวัดที่แรก จ. สุพรรณบุรี ในวันที่ 17-18 ม.ค.58 เบื้องต้น พอใจกับผลการรับฟังความเห็นในทุกช่องทางเป็นอย่างมาก เพราะว่าประชาชน องค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และทางอนุกรรมาธิการก็ได้ประมวลผลรายสัปดาห์เสนอให้กับ กมธ.ยกร่างฯ และกมธ.ปฏิรูปแต่ละด้านของสภา มาโดยตลอด จะขาดไปเพียงความเห็นจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ยังไม่ได้รับ ทั้งนี้ น.ส.ถวิลวดี ยืนยันว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีพิมพ์เขียวล่วงหน้าของใคร แต่ทุกคนดำเนินการโดยยึดถึงประโยชน์ของประเทศชาติมาก่อนทั้งสิ้น และเมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็จะมีการนำประเด็นต่าง ๆ ไปสอบถามความเห็นของประชาชนอีกว่ามีความเห็นด้วยหรือไม่ เลิศรัตน์แจงกมธ.ยึดเสียงส่วนใหญ่ที่มานายกฯ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวนิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงวาระการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นการพิจารณาข้อสรุปในหัวข้อสถาบันการเมือง โดยเฉพาะเรื่องที่มา ส.ส. สว. และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความสมดุล ทั้งการทำงาน การถ่วงดุล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการทำงานในอนาคต รวมถึงเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะต้องมีความชัดเจนในวันนี้ โดยจะพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ระหว่างการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง กับให้นายกรัฐมนตรีมาจากสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดิม และใช้หลักเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมาธิการ แต่หากมีเสียงส่วนน้อยติดใจก็ให้ค้างไว้ เพื่อนำไปพิจารณาเป็นรายมาตรา และให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ บวรศักดิ์จ่อแจงปมลต.นายกผ่านเว็บกมธ.ยกร่างฯ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนญ กล่าวว่า เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีการโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องข้อเสนอการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีโดยตรง ตามข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมากของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ที่มองว่าอาจจะกลายเป็นระบบซูเปอร์ประธานาธิบดีนั้น คาดว่าไม่เกินสัปดาห์หน้า จะมีการชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด เป็นบทความผ่านเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ คาดว่าคำชี้แจงของนายบวรศักดิ์ อาจจะรวมถึงหลักการเหตุผลของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินใจเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของที่มานายกฯ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีข้อสรุปเบื้องต้นในวันนี้ด้วย