เริ่มวันนี้! สปช.ประชุมใหญ่ คาด ถกเดือด ประเด็นที่มานายกฯ

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 15 ธันวาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    วันนี้จะมีการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นวันแรก เพื่อพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่าประเด็นการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็น่าจะเป็นประเด็นที่จะมีการถกเถียงอย่างหนัก

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันแรก สภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีการประชุม เพื่อพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 15-17 ธันวาคม โดยจะเป็นการประชุมกลั่นกรองและเน้นการนำเสนอ ประกอบกับการอภิปรายบนหลักเหตุผล ที่มีรายละเอียดในประเด็นข้อดีและข้อเสียของแต่ละข้อเสนออย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ประเด็นที่เป็นประโยชน์เพื่อประกอบการพิจารณา ในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป โดยจะมีการถ่ายทอดสดการประชุม สปช.ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หรือเอ็นบีที สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐสภา ตลอด 3 วัน

    โดย นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เปิดเผยถึงขั้นตอนการประชุมในวันที่ 15-17 ธันวาคม เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้าน ว่า วันนี้และวันพรุ่งนี้จะเป็นการฟังความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป วันละ 7 ด้าน เริ่มจากกลุ่มที่มีเนื้อหาเบาก่อน และเปิดโอกาสให้ สมาชิก สปช. อภิปรายความเห็นต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านต่างๆ ส่วนวันที่ 17 ธันวาคม จะรับฟังความเห็นอีก 4 ด้านที่เหลือ ซึ่งจะมีเนื้อหาค่อนข้างหนัก คือ คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง

    เมื่อสมาชิกสปช.อภิปรายครบถ้วนแล้ว จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงการตั้งข้อสังเกตของ สปช. จากนั้นที่ประชุม สปช.จะลงมติว่า จะส่งความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้านให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนประเด็นที่สปช.มีการท้วงติงความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปอย่างหนัก จะมีการแนบข้อสังเกตของสมาชิกสปช.เป็นความเห็นประกอบไว้ในรายงานที่ส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

    ซึ่งประเด็นที่คาดว่าจะถกเถียงกันอย่างหนัก คือข้อเสนอการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งมีสปช.เห็นต่างจำนวนมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ ที่สปช.ยังมีข้อข้องใจว่า จะเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จมากเกินไปหรือไม่ และถ้าไม่มีการลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ จะมีการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารอย่างไร
     

แบ่งปันหน้านี้