Valve โดนบริษัทเกมอินดี้ฟ้องผูกขาดช่องทางขายเกมพีซี ออกกฎให้ขายร้านอื่นยาก

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 8 พฤษภาคม 2021.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    นอกจากคดี Sony ถูกฟ้องแบบกลุ่มกรณีผูกขาดการขายเกมดิจิทัลบน PlayStation ยังอีกคดีฟ้องผูกขาดแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายเกมในช่วงนี้คือ บริษัทเกมอินดี้ Wolfire Games ฟ้อง Valve ว่าผูกขาดช่องทางขายเกมบนพีซีด้วย Steam Gaming Platform

    ในคำฟ้องนี้บอกว่า ธุรกรรม 75% ของเกมพีซีขายผ่าน Steam โดยเสียส่วนแบ่ง 30% ให้กับ Valve ซึ่งทำรายได้ให้ Valve มหาศาลถึงปีละ 6 พันล้านดอลลาร์ (ตัวเลขประเมินเพราะ Valve ไม่เคยเปิดเผยรายได้) เมื่อ Steam ได้รับความนิยมสูง มีคนใช้เยอะ ทำให้เกมต้องผูกติดกับบริการ Steam Gaming Platform (ส่วนที่จัดการรายชื่อเพื่อน มัลติเพลเยอร์ และอื่นๆ) เพื่อให้ขายได้

    Valve บังคับว่าเกมที่จะใช้บริการ Steam Gaming Platform ต้องขายผ่าน Steam Store ด้วย ซึ่งบริษัทเกมต้องโดนหัก 30% เสมอ

    [​IMG]

    คำฟ้องยังพูดถึงการขาย Steam Key ที่อนุญาตให้ร้านขายเกมอื่นๆ ขายคีย์แล้วนำมาเล่นบน Steam Gaming Platform ได้ แต่ก็มีนโยบาย Price Parity Provision ที่ห้ามร้านอื่นขายถูกกว่า Valve (เช่น Humble ที่อาจลดส่วนแบ่งให้น้อยกว่า 30%) ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในฝั่ง Store

    Valve ยังตรวจสอบว่าหากบริษัทเกมขาย Steam Key ผ่านช่องทางอื่นได้เยอะกว่า Steam Store ถึงสัดส่วนที่กำหนด ก็จะขู่บริษัทเกมและไม่อนุญาตให้ขาย Steam Key เพิ่มด้วย

    นอกจากนี้ Valve ยังมีนโยบายอีกข้อชื่อ Price Veto Provision ที่บริษัทเกมต้องยอมให้อำนาจ Valve มีสิทธิโต้แย้ง (veto) การตั้งราคาเกมทั้งบน Steam และช่องทางอื่นๆ ซึ่งตรงนี้คำฟ้องอ้างคำพูดของ Tim Sweeney ซีอีโอของ Epic Games ที่บอกว่านโยบายนี้ทำให้ Epic ไม่สามารถตั้งราคาเกมแข่งกับ Valve ได้

    [​IMG]

    ในคำฟ้องยังเอ่ยถึงบริษัทต่างๆ ที่พยายามเข้ามาแข่งกับ Steam ในตลาดขายเกมดิจิทัล เช่น EA, Microsoft, Amazon, Epic และบอกว่าต่อให้บริษัทเหล่านี้ใหญ่แค่ไหนก็สู้ Valve ไม่ได้ ด้วยเหตุผลด้านพฤติกรรมผูกขาดของ Valve ดังที่กล่าวมา

    อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ Wolfire Games เป็นบริษัทผู้ริเริ่มทำ Humble Bundle ตั้งแต่ปี 2010 และทีมงานได้แยกตัวเป็นบริษัทใหม่ในปีเดียวกัน (บริษัท Humble Bundle ขายให้ Ziff Devis ในปี 2017 และกลุ่มผู้ก่อตั้งลาออกในปี 2019 แล้ว) อย่างไรก็ตาม คำฟ้องของ Wolfire Games ครั้งนี้อยู่ในฐานะสตูดิโอผู้พัฒนาเกม และไม่เกี่ยวอะไรกับ Humble Bundle ที่ปัจจุบันถือเป็นคู่แข่งของ Steam

    ที่มา - คำฟ้อง, Ars Technica

    Topics: SteamValveLawsuitAntitrust
     

แบ่งปันหน้านี้