'เอเซียพลัส'เล็งหั่นกำไรบจ.3%

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 13 ธันวาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    บล.เอเซียพลัส เตรียมหั่นกำไรตลาดปีหน้าลงจากเดิมอีก 3% เหลือ 9.43 แสนล้านบาท หรืออีพีเอสหุ้นละ 103.40 บาท

    บนสมมติฐานราคาน้ำมันปรับลดเหลือ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กดดันราคาหุ้นพลังงาน ทำให้มีค่าพีอีล่วงหน้าปี 2558 อยู่ที่ 14.8 เท่า มองหุ้นไทยมีโอกาสปรับฐาน แนะเก็บหุ้นอสังหาฯ พีอีต่ำ-ปันผลสูง และหุ้นได้ประโยชน์ราคาน้ำมันขาลง โดยเฉพาะหุ้น"ขนส่ง"

    บล.เอเซียพลัส (ASP) เปิดเผยล่าสุดพบว่า ราคาน้ำมันดิบโลกที่ไหลลงต่อเนื่อง และหลุด 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือ ลดลงแล้วกว่า 51% ในช่วงเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาผลผลิตปิโตรเลียมโลกที่เกินความต้องการ โดยที่ผู้ผลิตหลัก ๆ ทั้ง OPEC และ Non-OPEC โดยเฉพาะรัสเซีย ต่างสงวนท่าที ที่จะลดปริมาณการผลิต เพราะล้วนเป็นผู้ที่มีรายได้หลักมาจากน้ำมัน

    ขณะที่สหรัฐ สามารถผลิตปิโตรเลียม ภายใต้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ "Oil Sand/Shell Gas" ออกสู่ตลาด ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานกลับฟื้นตัวล่าช้า ตามเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน

    ระดับราคาน้ำมันดิบปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าต้นทุนของผู้ผลิตในกลุ่ม Non-OPEC ซึ่งตกราว 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับต้นทุนของผู้ผลิตในกลุ่ม OPEC ที่ราว 40-50 ดอลลาร์ ทำให้คาดว่าผู้ผลิตปิโตรเลียมรายหลักๆ ของโลก ต้องปรับแผนการผลิตใหม่ เพื่อความอยู่รอดในระยะยาว

    "ดังนั้นคาดว่า ระดับราคาน้ำมันปัจจุบันน่าจะใกล้จุดต่ำสุด สะท้อนจากที่ผู้ผลิตรายสำคัญๆ ของโลกในฝั่ง OPEC แสดงความเห็นว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ น่าจะทรงตัวในระดับ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปอย่างน้อยในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2558 และหลังจากนี้น่าจะฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับเกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2558 ด้วยความคาดหวังว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มฟื้นตัว

    ทั้งนี้เพื่อสะท้อนสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้นักวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส เตรียมปรับลดราคาน้ำมันดิบดูไบระยะยาวตั้งแต่ปี 2558 ลงเหลือ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากเดิม 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่า จะกระทบต่อผลการดำเนินงานของหุ้นปิโตรเลียมขั้นต้น (ปตท.สผ. และ ปตท.) และโรงกลั่น (ไทยออยล์, บางจาก,พีทีที โกลบอล เคมิคอล) รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจถ่านหิน (บ้านปู, ลานนารีซอร์สเซส) ซึ่งอาจต้องบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่าของราคาน้ำมัน โดยคาดกำไรน่าจะหายไปราว 3 หมื่นล้านบาท

    นอกจากนี้ คาดว่าได้รับชดเชยเล็กน้อยจากกลุ่มขนส่ง ที่นักวิเคราะห์ ASP เพิ่งประมาณกำไรปี 2558 ขึ้นจากเดิมราว 2.352 พันล้านบาท (จาก THAI 971 ล้านบาท AAV 303 ล้านบาท และ AOT 1,070 ล้านบาท) ซึ่งคาดว่าจะทำให้ประมาณการกำไรตลาดปี 2558 (ที่ได้มีการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา) ประมาณ 9.71 แสนล้านบาท จะลดลงราว 2.9% เหลือ 9.43 แสนล้านบาท หรือ กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ลดลงจากเดิม 106.57 บาท เหลือ ราว 103.40 บาท

    นั่นหมายความว่า EPS Growth ตลาดในปี 2558 จะอยู่ที่ระดับ 12.7% เท่านั้น และทำให้มีค่าพีอีล่วงหน้า หรือ Expected P/E ปี 2558 อยู่ที่ระดับ 14.8 เท่า แม้ดัชนีหุ้นจะลดลงมาเกือบ 74 จุด และลงมาที่ระดับ 1,526 จุดแล้วก็ตาม (ลดลงจากปี 2557 ราว 17 เท่า) แม้ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย 14.6 เท่า และ อินโดนีเซีย 14.7 เท่า มาเลเซีย 15 เท่า แต่ยังต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ 17.4 เท่า และ จีน 10.8 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังโอกาสการปรับฐานยังมีอยู่

    กลยุทธ์การลงทุนยังแนะนำให้เลือกหุ้นเป็นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่มี EPS Growth ปี 2558 อยู่ที่ 14% ที่ มี P/E ต่ำ และเงินปันผลสูง ได้แก่ ศุภาลัย พฤกษา เอพี (ไทยแลนด์) และตามมาด้วยหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง โดยเฉพาะหุ้นขนส่ง ได้แก่ อาร์ซีแอล นกแอร์ การบินไทย และ เอเชีย เอวิเอชั่น หรือ เอเอวี ซึ่งน่าจะหนุนกำไรที่สดใสอย่างน้อย 2-3 ไตรมาสข้างหน้า

    Tags : หั่นกำไร • อีพีเอส • พลังงาน

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้