Google เขียนบล็อกพูดถึงความพยายามในการลดค่าดีเลย์เสียง หรือความหน่วงของระบบเสียง ทั้งแบบ round-trip (นับค่าดีเลย์ตั้งแต่ audio input > ประมวลผล > audio output) รวมไปถึงค่าดีเลย์แบบ tap-to-tone หรือค่าดีเลย์ตั้งแต่การสัมผัสหน้าจอไปจนเกิดเสียง (เช่นแอปเสียงกลอง) บนมือถือแอนดรอยด์ Google พยายามลดดีเลย์ของเสียงแบบ round-trip บนมือถือแอนดรอยด์ตั้งแต่ปี 2017 โดยเริ่มทำงานกับ OEM โดยตรงและออก AAudio ที่เป็น API เสียงของแอนดรอยด์, ออก Oboe ที่เป็น C++ wrapper แบบโอเพ่นซอร์สของ AAudio ที่ปัจจุบันมียอดติดตั้งกว่า 4 พันล้านครั้งไปแล้ว รวมถึงสร้าง Pixel 3A มือถือแอนดรอยด์เครื่องแรกที่มีค่าดีเลย์เสียงต่ำสุดที่ 10ms ปัจจุบันค่าเฉลี่ยของดีเลย์แบบ round-trip บนมือถือแอนดรอยด์ยอดนิยม 20 อันดับ (อ้างอิง appbrain.com) ลดลงเหลือแค่ 39ms ในเดือนมกราคม 2021 เท่านั้น เมื่อเทียบกับ 109ms ในปี 2017 นอกจากนี้ Google ยังระบุความแตกต่างระหว่างมือถือที่มีค่าดีเลย์สูงสุด กับต่ำสุด ยังลดจาก 222ms เหลือแค่ 28ms อีกด้วย แม้ในปี 2017 มือถือทั้ง 20 รุ่นจะมาจาก Samsung และในปีนี้ มีมือถือจากหลากหลายบริษัทมากกว่า แสดงถึงค่าดีเลย์ของเสียงบนมือถือแอนดรอยด์ ที่ต่ำใกล้เคียงกันเกือบทุกรุ่น ค่าดีเลย์เสียง บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ในปี 2017 ค่าดีเลย์เสียง บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ในปี 2021 ส่วนการคิดค่าดีเลย์แบบ tap-to-tone คือตัดค่าดีเลย์จาก audio input ออก (ลดไป 5ms) แล้วเพิ่มดีเลย์การสัมผัสจอ (เฉลี่ยจากหลายๆ รุ่นคือ 20ms) เข้ามาแทน เท่ากับว่าเมื่อนำค่าดีเลย์แบบ round-trip มาบวก 15ms ก็จะได้เท่ากับค่าดีเลย์แบบ tap-to-tone ซึ่งเมื่อนำค่าเฉลี่ย round-trip ในปี 2021 ที่ 39ms มาบวก 15ms แล้ว ก็ยังอยู่ที่เพียง 54ms เท่านั้น ซึ่ง Google ระบุว่าต่ำกว่าที่แอปเสียงแบบเรียลไทม์หลายๆ แอปต้องการ (“...well under that required for most real-time audio applications.”) ในอนาคต Google ยังมุ่งเป้าจะลดค่าดีเลย์เสียงแบบ round-trip บนมือถือแอนดรอยด์ให้เหลือเพียง 10ms เท่านั้น (ปัจจุบันค่าดีเลย์เสียงแบบ round-trip ขั้นต่ำ สำหรับอุปกรณ์ที่ Google อนุญาตให้ใช้ตัวจัดการแพ็กเกจแอป Professional Audio ของแอนดรอยด์ได้ อยู่ที่ 20ms) ที่มา - Google Topics: AndroidAndroid 11AudioGoogle