AIS ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า และ กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย ทำโครงการ Digital Yacht Quarantine หรือโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ โดยใช้ระบบติดตามจากสายรัดข้อมือบนเครือข่าย NB-IoT หวังจูงใจนักท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ตและภาคใต้ ขั้นตอนในการให้บริการคือ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาทางเรือ สมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทยจะเป็นตัวแทนประสานงานกับหน่วยงานทางการแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคในครั้งแรก พร้อมให้นักท่องเที่ยวสวมสายรัดข้อมือ หรือ NB-IoT Wristband Tourist Tracking ระบบจะส่งตัวเลขสุขภาพของนักท่องเที่ยวแต่ละคนตลอด 14 วันของการกักตัวเข้ามาที่ Dash Board ณ ที่ทำการท่าเทียบเรืออ่าวปอ หลังกักตัวครบ 14 วัน จะมีการนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์อีกครั้งว่านักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงโควิด-19 มากน้อยเพียงใด เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นฝั่งภูเก็ตต่อไป อุปกรณ์สวมใส่มี 2 รุ่นคือ Activ 10+ และ Smartwatch Active 30+ เป็นทั้ง Tracker และ Health Device ให้นักท่องเที่ยวติดตามและเฝ้าระวังป้องกันการออกนอกพื้นที่ มีเซนเซอร์อัจฉริยะที่สามารถวัดชีพจร ค่าความดัน และวัดอุณภูมิร่างกายของนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังสามารถแจ้งสัญญาณ SOS ได้ หากนักท่องเที่ยวเกิดเหตุต้องการความช่วยเหลือ NB-IoT Wristband Tracking พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชั่น Tracking และ Monitoring มอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร พิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ Topics: AISDEPAThailandTourism