ผู้บริหารเทคสตาร์ทอัพไทยชี้ ต้องการตลาดที่ใหญ่พอ และกฎหมายเอื้อต่อการลงทุน

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 11 มกราคม 2021.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    AWS ประเทศไทยจัดงานเสวนาออนไลน์ Building Thailand’s first Unicorn: The Technology Powering the Nation’s Startup Innovation เน้นแลกเปลี่ยนกันเรื่อง อนาคตและความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น รวมถึงความท้าทายที่สตาร์ทอัพต้องเจอ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งจากฝั่งสตาร์ทอัพและฝั่งนักลงทุนประกอบด้วย

    คุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Amity (เจ้าของ Eko สตาร์ตอัพไทยที่พัฒนาแอพแชทสำหรับตลาดองค์กร), คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด และ คุณปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Start-ups โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย, บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย)

    ข้อมูลเปิดเผย Blognone เป็นบริษัทในเครือ ไลน์แมน วงใน จำกัด

    [​IMG]
    Image by StartupStockPhotos from Pixabay

    สตาร์ทอัพไทย ติดกับดักความคิดที่ว่าให้บริการในไทยก็เพียงพอแล้ว


    คุณกรวัฒน์จาก Amity ให้ภาพรวมสภาวะปัจจุบันของสตาร์ทอัพในไทยว่ายังไม่ mature เท่าไรนัก เมื่อเทียบกับจีดีพี และประเทศเพื่อนบ้าน สตาร์ทอัพไทยติดกับดักความคิดที่ว่า เจาะตลาดคนไทยก็เพียงพอแล้ว ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับสตาร์ทอัพในมาเลเซีย, สิงคโปร์ พวกเขารู้ตัวตั้งแต่แรกแล้วว่าตลาดในประเทศนั้นเล็กเกินไป ต้องเป็น regional player เท่านั้นถึงจะอยู่ได้ ทำให้ตอนนี้มาเลเซียมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นมากพอสมควร

    ส่วนประเทศไทย เนื่องจากขนาดประชากรเยอะพอและใหญ่พอ ทำให้เกิดสภาวะก้ำกึ่งระหว่าง อยู่ในประเทศ หรือบุกต่างประเทศ

    [​IMG]
    จากซ้าย

    • ทัชพล ไกรสิงขร CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง ConvoLab และรองประธานกรรมการและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี (Vice President, Head of Technology) ของ Amity
    • กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ซีอีโอของ Eko/Amity
    • ณัฐพล ไกรสิงขร CFO และผู้ร่วมก่อตั้ง ConvoLab
    COVID-19 ทำสตาร์ทอัพต้องพึ่งตนเองมากกว่านักลงทุน


    คุณยอดจาก ไลน์แมน วงใน ให้มุมมองว่า ปีที่ผ่านมาสำหรับสตาร์ทอัพนั้น เหนื่อยมาก ยาก ลำบาก โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ เราจึงมองเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นสองกลุ่ม

    กลุ่มแรกคือ จำศีล จากการลดคน หรือเปลี่ยนธุรกิจไปทำอย่างอื่นชั่วคราว เพื่อรักษากระแสเงินสดให้ได้มากที่สุด ส่วนสตาร์ทอัพอีกกลุ่มคือ Thrive Under Covid-19 หรือมีการเติบโตสูง เช่น Food Delivery, E- commerce

    อย่างไรก็ตาม COVID-19 บังคับให้สตาร์ทอัพที่จากเดิม สามารถระดมทุนทุนหรือเข้าหานักลงทุนเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้ ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะเราไม่สามารถบินไปหานักลงทุนได้ การสร้างความสัมพันธ์เป็นไปได้ยาก ดังนั้น สตาร์ทอัพต้องอยู่ให้ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น เป็นปีที่ต้องปรับตัวเยอะ ที่อยู่ได้ก็ต้องโฟกัสที่ความสามารถในการทำเงินอย่างแท้จริง

    [​IMG]

    ฝั่งผู้ลงทุน คุณปารดา จาก 500 Startups บอกว่า อีโคซิสเต็มไทยเดินช้ากว่าประเทศอื่นจริง แต่ยังยืนยันว่าเรายังเดินต่อได้อย่างแข็งแรง โดยจากสถิติการลงทุน 80 บริษัท มีไม่ถึง 15% ที่ไม่รอด และมี 60% ยังระดมทุนรอบต่อไปได้

    ในปีที่ผ่านมาพบว่าดีลการลงทุนน้อยลงจริง เพราะเราต้องดูอนาคต ว่าธุรกิจนี้ยังอยู่ได้หรือไม่ นักลงทุนกลั่นกรองมากขึ้น ทำให้ดีลน้อยลง แต่ไม่ใช่ไม่มีเลย ยังพอมองเห็นดีลใหญ่บ้าง และมีหลายเจ้าที่กำลังจะ IPO ภายใน 3-5 ปี ดังนั้นสิ่งที่อยากเห็นคือ คนช่วยกันภายในประเทศ ทั้งรัฐ เอกชน และสตาร์ทอัพด้วยกันเอง

    [​IMG]

    แนวโน้มสตาร์ทอัพในอาเซียน ยังหนีไม่พ้น B2C


    ในวงเสวนามีการพูดคุยกันด้วยว่า สูตรสำเร็จสำหรับสตาร์ทอัพคืออะไร ซึ่งผู้เข้าร่วมทั้งสามตอบตรงกันว่าไม่มีสูตรสำเร็จใดๆ เลย แต่หากโฟกัสเฉพาะตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สตาร์ทอัพที่ให้บริการแบบ B2C ยังคงเป็นเทรนด์หลัก ในขณะที่การบริการแบบ B2B นั้น ตลาดในภูมิภาคนี้ยังเล็ก

    คุณยอดบอกว่า ไม่มีสูตรสำเร็จที่ชัดเจนขนาดนั้น แต่พื้นฐานเลยคือ ขนาดตลาดต้องใหญ่พอ ไม่เป็นแชมป์ในประเทศไปเลยก็ต้องไปเป็น regional หรือ global player ซึ่งไลน์แมน วงในเลือกทางแรก เพราะเราคิดว่ามันใหญ่พอ มีการใช้จ่ายต่อหัวสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน แต่อาจต้องใช้เวลาสร้างฐานผู้ใช้งาน และยังโฟกัสที่ B2C เป็นหลัก

    ที่สำคัญคือ การสร้างคุณค่าเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคต้องมากพอ ถ้าทำได้ ก็จะหาวิธีหาเงินจากกลุ่มผู้บริโภคเหล่านั้นได้

    คุณกรวัฒน์ ระบุว่า ตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไงก็ยังต้องเป็น B2C แม้ในตลาดโลก ขนาดตลาด B2B ใหญกว่ามาก แต่ในภูมิภาคของเรายังเล็กเกินไป ส่วนสูตรก็ไม่มีตายตัว แต่เท่าที่พยายามศึกษาบริษัทที่ประสบความสำเร็จคือ ทำผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งให้ดีจนเป็น best in class ไปเลย คือต้องมีโฟกัสสำคัญว่าสตาร์ทอัพต้องการทำอะไร แก้ปัญหาอะไร การมีเมนเทอร์ที่ดีก็สำคัญ บางทีอาจสำคัญกว่าเงิน เพราะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้

    ด้านคุณปารดาให้คำแนะนำว่า อย่าไปยึดติดกับการเป็นยูนิคอร์นมาก เพราะการเป็นยูนิคอร์นคือได้รับการลงทุน แต่ในช่วงเวลาที่เราไม่สามารถเดินทางไปหานักลงทุนได้ และนักลงทุนเองก็คิดเยอะมากขึ้น จึงอยากให้โฟกัสที่ความยั่งยืนของธุรกิจตัวเองมากกว่า

    ความคาดหวังจากภาครัฐ


    คุณปารดาแลกเปลี่ยนในมุมมองนักลงทุนว่า อยากให้รัฐบาลเปลี่ยนกฎบางข้อในเรื่องการระดมทุน บางกฎยังทำให้มันทำไม่สะดวก ต้องให้สตาร์ทอัพหนีไปจดทะเบียนต่างประเทศ

    ส่วนคุณยอดระบุว่า อยากให้สร้างสิ่งแวดล้อมในประเทศเหมาะสม และได้เปรียบในการแข่งขัน กฎหมายเป็นเรื่องหนึ่งเลย เรายังมองเห็นแพลตฟอร์มต่างชาติบางราย ยังไม่เสียภาษีในไทยในขณะที่บริษัทไทยต้องเสีย จึงอยากให้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เท่าเทียมกัน

    Topics: StartupThailandAWSSeminar
     

แบ่งปันหน้านี้