กลายเป็นข่าวใหญ่ในช่วงเช้าวันนี้แบบไม่ทันตั้งตัวจริงๆ สำหรับกรณีที่ ช่อง 7 ยื่นฟ้อง กสท. ต่อ ป.ป.ช. เรื่องการที่ช่อง 3 ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลออกอากาศคู่ขนานได้ ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ก็ได้ออกมาอธิบายถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ผ่านทวิตเตอร์ @supinya แทบจะทันที ซึ่งสามารถสรุปโดยรวมได้ดังต่อไปนี้ เรื่องคนละนิติบุคคล ได้ข้อสรุปตั้งแต่ในชั้นศาลแล้ว ซึ่ง คณะกรรมการ กสท. ก็ได้ยืนยันชัดเจนว่า สิทธิ์การบริหารช่องดิจิทัลทีวีทั้งหมดอยู่ที่ตัว "บีอีซี มัลติมีเดีย" ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตตั้งแต่แรก และยืนยันชัดเจนว่า บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไม่มีสิทธิ์ออกอากาศคู่ขนานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ช่อง 3 ยื่นเอกสารขอออกคู่ขนานในนาม บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อยู่ตลอด คณะกรรมการ กสท. จึงปัดข้อเสนอของ บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทิ้งไปทั้งหมด จนกระทั่ง บีอีซี มัลติมีเดีย ยื่นเอกสารเข้ามาจึงได้นำมาพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติบุคคลของช่อง 3 ที่ ช่อง 7 ยื่นฟ้อง คุณสุภิญญา มองว่า กรณีนี้มันจะเหมือนกับกรณีที่ ช่อง 7 และบริษัท จันทร์ 25 จำกัด ของนางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ซึ่งมีผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายเป็นบุคคลเดียวกัน จะเข้าร่วมประมูลดิจิทัลทีวี ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง กสทช. ก็จะตัดสิทธิ์ทั้ง ช่อง 7 และ จันทร์ 25 ออกไป กรณีนี้ก็ไม่ยกเว้นให้กับ ช่อง 3 ที่ตั้งใจจะลงประมูลด้วยสองนิติบุคคล แต่มีผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายเพียงคนเดียวเช่นกัน คุณสุภิญญายังกล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าเกิดว่า ป.ป.ช. มีการเรียกตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จริงๆ ก็จะส่งผลร้ายต่อดิจิทัลทีวีค่อนข้างมาก เพราะถ้า ป.ป.ช. ตัดสินว่าผิด ช่อง 3 จะไม่มีสิทธิ์ในการออกอากาศคู่ขนานในทันที รวมถึง คณะกรรมการ กสท. ก็จะถูกให้ออกจากตำแหน่งทั้งชุดเช่นกัน ที่มา - @supinya กสท. ให้ช่อง3ออกคู่ขนานได้ก็เหมือนทีวีอนาล็อกทุกช่องนั่นล่ะ ส่วนเรื่องคนละนิติบุคคล ชี้แจงต่อหน้าศาลไปแล้วว่าสิทธิ์อยู่ที่ BEC Multimedia — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 กสท.ไม่เคยยินยอมให้บริษัทบางกอกฯ เป็นคนยื่นขอออกคู่ขนาน แต่ให้สิทธิ์ BEC Multimedia ที่ชนะประมูลซึ่งมีอำนาจบริหารผังรายการเหมือนช่องอื่นๆ — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 ตลอดมาทางช่อง 3 เองก็ไม่เคยยื่นขอออกคู่ขนานในนาม BEC Multimedia แต่ยื่นถามมาในนาม บ.บางกอกฯ ซึ่ง กสท. ก็ไม่ได้พิจารณา — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 จนช่อง 3 ไปฟ้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนมติ กสท. แต่สุดท้ายศาลปกครองก็ไกล่เกลี่ยจนทาง BEC Multimedia ซึ่งมีสิทธิ์ ยินยอมมาขอออกผังคู่ขนาน — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 ส่วนกรณี คนละนิติบุคคล (แต่คือเจ้าของเดียวกัน) ก็คล้ายๆตอนกรณี กสทช. จะตัดสิทธิ์เครือช่อง7เข้าประมูล ถ้่ามีบริษัทของคุณแดงเข้ามาประมูลด้วย — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 เช่นเดียวกัน ถ้า บ. บางกอกฯ เข้าแข่งประมูลกับ BEC Multimedia ก็จะโดนตัดสิทธิ์ทั้งคู่ เพราะถือว่าเป็นเจ้าของเดียวกัน (แม้คนละนิติบุคคล) — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 ชื่อนิติบุคคลไม่สำคัญเท่าการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของหรือ ผู้มีอำนาจจริงตามกฏหมายด้วย เพราะถ้าตีความแบบศรีธนญชัย คือจะเปิดโอกาสให้เกิดนอมินี — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 #คหสต. การฟ้องต่อ ปปช. ผลที่อาจเกิด คือถ้า กสท.ถูกชี้มูล ก็อาจต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ และ มีผลต่อการออกคู่ขนานอาจเป็นโมฆะไป #ทีวีดิจิตอล — Supinya Klangnarong (@supinya) December 4, 2014 BBTV, Broadcasting, CH7, Digital TV, NBTC, Thailand, TV, TV3