ดึงการควบคุมออกจากเอกชน จีนดันหยวนดิจิทัลด้วยการบังคับร้านค้าให้รับ, ไม่คิดค่าถอนเงิน,...

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 27 ธันวาคม 2020.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    โครงการหยวนดิจิทัลของธนาคารจีนเริ่มเป็นข่าวมาตั้งแต่ปี 2019 และทดสอบไปแล้วตามเมืองใหญ่ของจีนหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางจีนอาจจะกำลังพยายามดึงธุรกิจการเงินดิจิทัลให้กลับมาอยู่ในระบบธนาคารแทนที่จะอยู่ในการควบคุมของแอป e-Wallet สองรายใหญ่ของจีนคือ Alipay และ WeChat Pay

    ทีมพัฒนาหยวนดิจิทัลของจีน Mu Changchun หลีกเลี่ยงจะพูดถึงว่าหยวนดิจิทัลจะกลายเป็นแอปภาครัฐทีไปแข่งกับเอกชนอย่างไร แต่บอกเพียงว่า "WeChat และ Alipay เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล และหยวนดิจิทัลเป็นเงินที่อยู่ในกระเป๋าเงินนั้น" คำอธิบายแม้จะงงๆ แต่แอป e-yuan ของธนาคารกลางจีนทำงานคล้ายกับพร้อมเพย์ของไทยค่อนข้างมาก โดยสามารถสร้าง QR รับเงินได้เหมือนแอปกระเป๋าเงินดิจิทัลแต่เมื่อได้รับเงินแล้ว เงินจะเข้าไปยังบัญชีธนาคารโดยตรง โดยตอนนี้ประชาชนสามารถผู้บัญชีหยวนดิจิทัลเข้ากับบัญชีธนาคารของรัฐขนาดใหญ่เท่านั้น


    A first look at the DCEP / digital yuan. Who’s next? pic.twitter.com/y4reOPJPWR

    — Thibault Schrepel (@LeConcurrential) October 12, 2020

    แอปหยวนดิจิทัลมีความสามารถมากกว่าการจ่ายเงินแบบ QR ทั่วไป โดยหากโทรศัพท์รองรับ NFC ก็จะใช้ฟีเจอร์ touch-and-pay ได้ด้วย พร้อมกับรองรับการจ่ายเงินแม้ไม่มีอินเทอร์เน็ตก็ตาม, ตัวแอปมีเมนูเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ เช่น การจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์

    ธนาคารกลางจีนทดสอบหยวนดิจิทัลโดยค่อยๆ ไล่ทดสอบตามเมืองใหญ่ การทดสอบมักแจกเงินประมาณ 200 หยวนให้กับผู้โชคดี โดยเงินก้อนนี้ไม่สามารถโอนไปยังบุคคลตามปกติได้ แต่ต้องนำไปใช้จ่ายในร้านที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงซื้อของออนไลน์ผ่านทางเว็บ JD.com

    ผู้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในจีนเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงินออกจากกระเป๋าเงินขณะที่หยวนดิจิทัลนั้นรับเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรงทำให้การใช้งานแทบไม่มีค่าใช้จ่าย หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ระบุว่าได้รับคู่มือการใช้งานของร้านค้า ที่พยายามชักจูงให้ร้านค้ามาใช้งานเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมกันนั้นก็บังคับว่าหยวนดิจิทัลมีค่าเท่าเงินสด ร้านค้าจึงไม่สามารถปฎิเสธลูกค้าที่จะจ่ายด้วยหยวนดิจิทัล มีรายงานถึงร้านค้าที่ไม่สนใจเข้าร่วมทดสอบก็จะถูกกดดันให้เข้าร่วมในที่สุด

    ที่มา - South China Morning Post, Quartz

    [​IMG]

    ภาพโดย moerschy

    Topics: ChinaMobile Payment
     

แบ่งปันหน้านี้