นักวิจัยความปลอดภัยค้นพบช่องโหว่ Windows 7 ในโค้ดที่ออกสู่สาธารณะแล้ว

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 26 พฤศจิกายน 2020.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    Clément Labro นักวิจัยความปลอดภัยชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าของสคริปต์ชื่อ PrivescCheck ใช้ตรวจสอบว่าคอนฟิกของ Windows เผลอเปิดให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยหรือไม่

    หลังออกสคริปต์เวอร์ชันใหม่ (เผยแพร่บน GitHub) เขาค้นพบว่าสคริปต์ของเขาทำงานแปลกๆ บน Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ที่เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า หลังสอบสวนในรายละเอียดแล้วเขาก็พบว่านี่เป็นบั๊ก zero-day ของ Windows 7/2008 R2 ที่ทำให้เราสามารถเลื่อนขั้นสิทธิ (privilege escalation) ของบริการชื่อ RpcEptMapper ผ่านระบบ registry ของ Windows ได้อย่างที่ไม่ควรจะเป็น

    ช่องโหว่นี้สามารถสร้างไฟล์ DLL ของตัวเองแล้วให้ระบบเรียกใช้งานด้วยสิทธิของระบบ (system privilege) ได้ อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่นี้จำเป็นต้องเข้าถึงเครื่องแบบ local access ดังนั้นความรุนแรงจึงไม่เยอะมากนัก

    [​IMG]

    Labro บอกว่าไม่เข้าใจเหมือนกันว่าบั๊กนี้อยู่รอดมานานขนาดนี้ได้อย่างไร (Windows 7 ออกปี 2009) ประเด็นสำคัญคือเขาเผยแพร่ตัวโค้ดที่เข้าถึงช่องโหว่นี้สู่สาธารณะไปก่อนแล้วหลายเดือน (ก่อนรู้ว่ามีบั๊กนี้ด้วยซ้ำ) เขาจึงตัดสินใจเปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่นี้ต่อสาธารณะด้วย

    ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า ไมโครซอฟท์จะอุดช่องโหว่นี้ไหม เพราะ Windows 7 และ 2008 R2 หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้ว ซึ่งตัวของ Labro ก็บอกว่าหากยังใช้ Windows เหล่านี้อยู่โดยไม่แยกขาดออกจากเครือข่าย ก็ขอให้โชคดี (จากช่องโหว่ตัวอื่นๆ ก่อนจะมาถึงช่องโหว่ตัวนี้)

    ที่มา - Clément Labro via ZDNet

    Topics: Windows 7MicrosoftOperating SystemSecurity
     

แบ่งปันหน้านี้