กฟผ.ทุ่มแสนล้านลงทุนระบบสายส่งปี58

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 26 พฤศจิกายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    กฟผ. เร่งลงทุนระบบสายส่งไฟฟ้าปี 2558 กว่า 1 แสนล้านบาท รองรับความมั่นคงไฟฟ้าในอนาคต

    กฟผ. เร่งลงทุนระบบสายส่งไฟฟ้าปี 2558 กว่า 1 แสนล้านบาท รองรับความมั่นคงไฟฟ้าในอนาคต เผยปี 2565 ยังไม่ได้เตรียมแผนสายส่งรองรับโรงไฟฟ้าไอพีพี กลุ่มกัลฟ์ 5,000 เมกะวัตต์ พร้อมเดินหน้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะย้ำประมูลโปร่งใส

    นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.กำลังเร่งลงทุนระบบสายส่งไฟฟ้าเพิ่มเติม หลังได้รับอนุมัติโครงการพัฒนาสายส่งไฟฟ้าจากครม.ที่ผ่านมา โดยบริเวณ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง จำนวน 2,700 เมกะวัตต์ รวมทั้งพัฒนาสายส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และสายส่งภาคใต้เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคใต้รวมมูลค่าลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท คาดว่าเริ่มโครงการได้ในปี 2558

    อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังขาดสายส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับ โครงการของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ซึ่งบริษัทในเครือกัลฟ์ เจพี ชนะการประมูลเมื่อปี 2556 จำนวน 5,000 เมกะวัตต์ โดยการผลิตไฟฟ้าโครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งขณะนี้มีแค่โครงการพัฒนาสายส่งไฟฟ้า อ.ปลวกแดง รองรับไฟฟ้าได้ 2,700 เมกะวัตต์เท่านั้น

    ดังนั้นต้องรอให้รัฐบาลกำหนดนโยบายแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือ พีดีพี ฉบับใหม่ให้เสร็จก่อน พร้อมทั้งกำหนดแผนการสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่ม จากนั้นทาง กฟผ. จึงจะสามารถจัดทำแผนพัฒนาสายส่งไฟฟ้าให้รัฐบาลอนุมัติได้ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจากรัฐบาล 5,000-6,000 ล้านบาท ทั้งนี้หากไม่มีการอนุมัติพัฒนาสายส่งดังกล่าว จะส่งผลให้ กัลฟ์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามแผนในปี 2565

    นายสุนชัย กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่า กฟผ.ล็อกสเปกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งสังเกตได้จากการเสนอราคาประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าต่างกันถึง 1 หมื่นล้านบาทว่า กฟผ.ยืนยันเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะต่อไป เพราะไม่มีอะไรผิดพลาดเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติทั้งสิ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป

    สำหรับสาเหตุที่มีการกล่าวอ้างว่า กฟผ.ล็อกสเปกราคานั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ร่วมประมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริษัท อัลสตอม กลุ่มบริษัทฮิตาชิ และบริษัท ฮาร์บิน จากจีน โดยกลุ่มอัลสตอมได้ยื่นประมูลราคาที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัท ฮิตาชิ ยื่นมาสูงถึง 4.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่างกันกว่า 1 หมื่นล้านบาท นั้น เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีหม้อต้มความร้อนหรือบอยเลอร์ที่แตกต่างกันมาก ซึ่งมาจากความชำนาญประสบการณ์ที่ต่างกัน ส่วนบริษัทฮาร์บิน จากจีน นั้น กฟผ.ไม่ได้เปิดซองราคา

    ทั้งนี้กฟผ. ได้เลือกกลุ่มบริษัทอัลสตรอม และต่อรองราคาลงมาอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวจะเข้าระบบในปี 2565

    ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลประชาพิจารณ์ และเตรียมเสนอต่อ คชก.ในเดือนธ.ค. 2557 นี้

    Tags : นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ • กฟผ. • ไอพีพี

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้