Cisco ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มช. พัฒนา Telehealth, ใช้ AI คัดกรองผู้ป่วยวัณโรค ฯลฯ

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 9 กันยายน 2020.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    Cisco ลงนามความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนาวัตกรรมด้านสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญคือ พัฒนาระบบดิจิทัลเฮลท์แคร์ให้กับผู้ใช้บริการและบุคลากรการแพทย์ในรูปแบบโรงพยาบาล และ พัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อการรักษาและการสาธารณสุข มุ่งหวังว่าจะรองรับผู้ป่วยจากทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือได้

    โครงการส่วนแรกคือการพัฒนาบบติดตามการจ่ายยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างระบบติดตามสถานะของยาและเครื่องมือแพทย์ ที่ใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และสถานบริการเครือข่าย 13 แห่งแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ตรวจสอบสถานะของยาและอุปกรณ์การแพทย์ได้สะดวกต่อการบริหารจัดการงบประมาณ

    นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบติดตามสถานะการให้บริการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยสามารถเรียกดูข้อมูลสถานะการให้บริการผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย และแอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาล ทราบสถานะการให้บริการ คิวตรวจ รับยา จ่ายเงิน และข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ รวมถึงการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผ่านระบบทางไกล (Tele-consulting) เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล

    [​IMG]

    ด้านโครงการส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษา มีสามโครงการสำคัญคือ

    • พัฒนาระบบคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค (Tuberculosis Screening Project) ใช้ AI และ Deep Learning ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติของภาพเอกซเรย์ทรวงอกเบื้องต้น ให้แพทย์สามารถนำข้อมูลภาพเอ็กซเรย์มาทำโมเดลสอนระบบให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคขั้นร้ายแรงมารักษาได้ทัน
    • โครงการดูแลผู้ป่วยประคับประคองผ่านระบบการสื่อสารทางไกล Tele Palliative Care สร้างห้องตรวจและห้องรักษาเสมือนจริง เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยประคับประคอง และผู้ป่วยติดเตียงโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัย พิจารณาให้ยาอย่างเหมาะสมผ่านระบบ Tele-consulting บนแพลตฟอร์ม Cisco WebEx แก้ปัญหาจำนวนผู้ป่วยติดเตียงล้นโรงพยาบาล และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย
    • โครงการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยเจ้าหน้าที่ อสม. (Diabetes Patient Data & Communication Project) เนื่องจากช่วงโควิด-19 เจ้าหน้าที่ อสม. มีบทบาทสำคัญ แต่การสื่อสารระหว่าง อสม. และประชาชนอาจไม่สามารถทำได้ทันท่วงทีและไม่สามารถทำในสเกลใหญ่ได้ Cisco จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สื่อสารและฝึกอบรม อสม. ผ่าน Cisco Webex เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดความแออัดในการที่จะต้องเดินทางเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล

    [​IMG]

    นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Cisco ระบุไทม์ไลน์ของความร่วมมือ ว่ามีการเริ่มพูดคุยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำโครงการนำร่องได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021

    ก่อนหน้านี้ Cisco ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มช. พัฒนา Smart Connected Healthcare ทำโซลูชั่นการแพทย์คือ Live surgery, Tele-consult

    ที่มา - งานแถลงข่าว และ จดหมายข่าว

    Topics: CiscoThailandHealth
     

แบ่งปันหน้านี้