AIS จัดงานแถลงวันนี้ ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2016 - 2019 ได้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เกิดจากโครงข่ายและการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการรับจากคนไทยทั่วประเทศ ไปกำจัดอย่างถูกวิธี แบบ Zero Landfill หรือการไม่ฝังกลบลงดินรวมทั้งสิ้นกว่า 710 ตัน ทาง AIS ระบุว่า ในจำนวนทั้งหมดแบ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการดำเนินการ เช่น การวางโครงข่าย เป็นต้น จำนวน 707 ตัน สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 96% ไม่นับรวมอุปกรณ์จำพวกสายไฟเบอร์ซึ่งยังไม่มีวิธีหรือเทคโนโลยีที่จะนำไปกำจัดได้ และอีก 3 ตัน หรือคิดเป็น 60,000 ชิ้น เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับมาจากผู้บริโภค สามารถนำเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ 100% สำหรับโครงการ AIS E-Waste หรือการขยายทำจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น AIS ได้เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 ล่าสุดมีการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก 52 องค์กร และขยายจุดรับทิ้งทั่วแระเทศราว 2,000 จุด และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนทั่วไปนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภทคือ โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, สายชาร์จ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์มาทิ้ง AIS จึงเปิดตัวแคมเปญใหม่ “เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” ทิ้งขยะแลกเป็นคะแนนเข้ามาที่แอปพลิเคชั่น My AIS โดยต้องไปทิ้งที่ AIS Shop Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณนัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน AIS ผู้ริเริ่มโครงการ AIS E-Waste พูดคุยรายละเอียดเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงวิธีการคัดแยกอย่างถูกวิธี อ่านย้อนหลังได้ ที่นี่ Topics: AISEnvironment