แบงก์หวั่นปล่อยกู้เอสเอ็มอียาก

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 24 พฤศจิกายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ซีไอเอ็มบีคาด พ.ร.บ.ค้ำประกันกระทบเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อยากหลังความเสี่ยงแบงก์เพิ่มหากผู้ค้ำรับผิดชอบน้อยลง

    นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า ในขณะนี้สถาบันการเงินแต่ละแห่งอยู่ระหว่างการศึกษาทำความเข้าใจร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20 ที่เกี่ยวข้องกับการค้ำประกัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ก.พ.2558 ซึ่งจะทำให้บุคคลที่ค้ำประกันเงินกู้ไม่ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบหากลูกหนี้เบี้ยวหนี้ว่าจะกระทบกับลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีเอสเอ็มอีที่มีหลักประกันไม่พอ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่ธนาคารยอมรับว่าตรวจสอบงบการเงินได้ยาก ที่ผ่านมาธนาคารจึงต้องให้เจ้าของกิจการเข้ามาร่วมรับผิดชอบหนี้ด้วยการค้ำประกันสินเชื่อ

    อย่างไรก็ตามเมื่อกฎหมายเปลี่ยนผู้ค้ำประกันมีขอบเขตความรับผิดชอบน้อยลงก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับธนาคารจึงอนุมัติเงินกู้ให้แก่เอสเอ็มอีรายนั้นๆ ได้ยากขึ้น

    “ในส่วนของสินเชื่อบ้านจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีหลักประกันเป็นบ้าน แต่สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และต้องใช้บุคคลค้ำประกันก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยแต่ทั้งนี้คงต้องไปดูข้อกฎหมายกันอีกครั้งหนึ่ง และยังเร็วเกินไปที่จะพิจารณาเรื่องการปรับกฎเกณฑ์การให้สินเชื่อในขณะนี้”

    ทางด้านนายพิภวัตว์ ภัทรนาวิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึง พรบ.ค้ำประกันว่าไม่ได้กระทบกับการขยายสินเชื่อของธนาคารมากนัก เนื่องจากการให้สินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในช่วงที่ผ่านมาจะให้ความสำคัญกับความเป็นไปได้ของธุรกิจและความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของแต่ละธุรกิจมากกว่า ส่วนเรื่องของหลักประกันถือเป็นประเด็นรองลงมา ขณะเดียวกันการค้ำประกันควรเรื่องของเจ้าของธุรกิจตัวจริงมากกว่า การค้ำประกันจากผู้อื่น

    “ก็อาจจะมีผลบ้าง แต่ไม่มากนัก เพราะเราไม่ได้ดูที่หลักประกันในการให้สินเชื่อ เราดูที่ความสามารถของธุรกิจเป็นหลัก”

    ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า พรบ.ดังกล่าวถือว่าให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน มีการแบ่งแยกความรับผิดชอบผู้กู้และผู้ค้ำประกันอย่างชัดเจน ทั้งส่วนการกำหนดวงเงินค้ำประกันให้ชัดเจน ระยะเวลาการค้ำประกัน กรณีลูกหนี้ผิดนัดหากเจ้าหนี้ไม่ทำหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกันภายในเวลา 60 วัน หรือบอกกล่าวผู้จำนองภายใน 15 วัน ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน อย่างไรก็ตามการปรับเวลาแจ้งผู้ค้ำประกันจาก 60 วันเป็น 90 วันธนาคารจะต้องมีระบบไอทีที่รองรับด้วย

    Tags : สุภัค ศิวะรักษ์ • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย • ชาติชาย พยุหนาวีชัย • ธนาคารกสิกรไทย • สินเชื่อ • ค้ำประกัน

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้