เอกชนลุยลงทุน-ซื้อกิจการ แนะรัฐหนุนเพิ่มขีดแข่งขัน

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 21 พฤศจิกายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    เอกชนขานรับเศรษฐกิจขาขึ้นปีหน้า เดินหน้าลงทุน-ซื้อกิจการ แนะรัฐหนุนมาตรการภาษี เพิ่มขีดแข่งขัน

    สร้างภูมิคุ้มกันธุรกิจ พร้อมดัน "แบรนด์ไทย" บุกเวทีโลก

    ภาคธุรกิจมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประเมินจากสัญญาณการฟื้นตัวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และปัจจัยบวกภายในประเทศจากการขับเคลื่อนเมกะโปรเจคของภาครัฐ

    นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกอาจไม่สดใสมากนัก แต่เชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับญี่ปุ่น แต่ยังต้องรอพิจารณาการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว

    "รัฐต้องเลือกจัดการเรื่องใหญ่ๆ ที่สำคัญ จัดการในสิ่งที่ทำไม่ได้ในวาระปกติ เช่น การแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่ล้าหลัง หรือไม่สอดรับสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคเอกชนหวังว่าจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็ต้องช่วยเหลือตัวเองและสร้างภูมิคุ้มกันไว้ด้วย"

    อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการส่งออกของไทยช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับติดลบ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้ "ไม่ติดลบ" แต่ไม่เติบโต

    ปัจจุบันบริษัทมีฐานการผลิตกระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในไทย เวียดนาม ปาปัวนิวกินี กาน่า โปรตุเกส ฝรั่งเศส และสหรัฐ เป็นกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของสถานการณ์ต่างๆ ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมุ่ง "ซื้อกิจการ" ผลักดันการเติบโต โดยปีนี้บริษัทเข้าซื้อ 2 กิจการ ได้แก่ ธุรกิจปลาแซลมอน ประเทศฝรั่งเศส และปลาซาร์ดีน พรีเมี่ยม นอร์เวย์ บริษัทตั้งเป้าหมายธุรกิจเติบโตไม่ต่ำกว่า 15% ในปีหน้า

    "ความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะความผันผวนของราคาวัตถุดิบ หรืออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในระยะ 12 เดือนข้างหน้า เงินบาทอาจยังนิ่งๆ ไม่ผันผวนมากนัก"

    สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี' class='anchor-link' target='_blank'>เออีซี
    ) เป็นโอกาสสำคัญด้านการตลาดด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 600 ล้านคน การทลายกำแพงภาษี โดยผู้ประกอบการต้องเร่งเตรียมความพร้อมตลอดเวลา มีการคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยสร้างความแตกต่างในการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้น และมีสิ่งที่คาดไม่ถึงเข้ามาเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือมีผลกระทบตลอดเวลา เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม โรคภัยต่างๆ ผู้ประกอบการต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ
    ชี้ทุกวิกฤติไทยฟื้นตัวเร็ว

    นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และโครงการร่วมทุน "ไอคอนสยาม" กล่าวว่า ภาครัฐต้องสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และผลักดันธุรกิจค้าปลีกไทยก้าวสู่ "เดอะ เบสท์ รีเทล ฮับ อิน เอเชีย" ปัจจัยสำคัญต้องพิจารณามาตรการทางด้านภาษี เช่นเดียวกับสิงคโปร์ มาเลเซีย ที่สร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมากจากการลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย

    รัฐบาลต้องตัดสินใจและดำเนินการต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการขนส่ง ทำให้ธุรกิจสามารถกระจายการเติบโตตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงธุรกิจห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ขยายตัวตาม คาดว่าปีหน้า

    "ไทยมักฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังเกิดวิกฤติต่างๆ โดยทำเลที่ตั้งของสยามพารากอนในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศใจกลางกรุงเทพฯ ทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มหายไป แต่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย และเอเชียใต้ เริ่มกลับเข้ามาแล้ว"

    โดยภาพรวมธุรกิจของสยามพิวรรธน์ในปีนี้เติบโตมากกว่าปีก่อนเล็กน้อย ขณะที่กำลังซื้อ และการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเริ่มกลับเข้ามา

    3ปีพื้นที่ค้าปลีกเพิ่ม2.4ล้านตร.ม.

    สำหรับ ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าใน 3 ปีข้างหน้าจะมีพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านตร.ม. จากปัจจุบันมีพื้นที่ค้าปลีกรวมกว่า 9.4 ล้านตร.ม.

    โดยสยามพิวรรธน์ได้มีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ "ไอคอนสยาม" มูลค่ากว่า 5.5 หมื่นล้านบาท วางเป้าหมายเป็นแลนด์มาร์คของไทยและแข่งขันกับโครงการระดับโลก

    "ยังไม่เน้นขยายไปต่างประเทศ ซึ่งตลาดเมืองไทยยังมีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะโครงการในต่างจังหวัด ซึ่งจะคิดค้นคอนเซปต์ใหม่ที่แตกต่างจากโครงการในกรุงเทพฯ"

    ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าสยามพิวรรธน์มีแผนลงทุน คิดเป็นมูลค่า 5.5 หมื่นล้านบาท

    ลงทุนรัฐหนุนเศรษฐกิจขยายตัว

    นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์โดยรวมทั่วโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก การส่งออก การท่องเที่ยว กลุ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงมีการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น ซึ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวดีขึ้นในทิศทางเดียวกับภาพรวมเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจะเริ่มกลับมาเปิดตัวโครงการมากขึ้น

    ในปีนี้ ศุภาลัย เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย 27 โครงการ มากกว่าปีก่อนที่เปิดตัว 18 โครงการ ส่วนปีหน้าจะเปิดตัวโครงการมากกว่าปีนี้ และขยายโครงการในต่างจังหวัดมากขึ้น

    "ประเทศที่ไม่มีนโยบายคุมกำเนิด และมีประชากรจำนวนมาก จะมีความต้องการด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น การเปิดเออีซี' class='anchor-link' target='_blank'>เออีซี
    จะทำให้คนทำงานข้ามถิ่นมากขึ้น นำไปสู่ความต้องการซื้อและครอบครองที่อยู่อาศัย"
    อย่างไรก็ดี การออกกฎหมายใหม่ๆ เกี่ยวกับที่ดิน อาจส่งผลให้มีการระบายสินค้า หรือขายที่ดินออกมา เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี อาจส่งผลให้ราคาที่ดินต่ำลง

    เตรียมพร้อม'ไอที-ภาษา'

    นางสาวสุณี เสรีภาณุ ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องสร้างแบรนด์ และขยายตลาด โดยขณะนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีในการรุกขยายตลาดประเทศเพื่อนบ้าน

    "ไม่ต้องรีบแต่อย่าช้า ต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค วัฒนธรรม ภูมิอากาศ กฎหมายท้องถิ่น แล้วพิจารณาว่าควรเข้าไปทำตลาดหรือไม่ บนขีดความสามารถการแข่งขันตามความเป็นจริง"

    สำหรับ แม็คกรุ๊ป ได้มีการปรับธุรกิจอย่างต่อเนื่องในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นับจากการรับจ้างผลิต กระทั่งสร้างแบรนด์ และซื้อกิจการ เน้นธุรกิจเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ อาทิ นาฬิกา สอดคล้องกับเทรนด์ผู้บริโภค เน้นเติมเต็มสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และต่อยอดธุรกิจของแม็คกรุ๊ป

    อย่างไรก็ดี ปัญหาที่องค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ต้องเผชิญ คือ บุคลากรเติบโตไม่ทันการขยายตัวของธุรกิจ ซึ่งจะต้องพัฒนาระบบไอทีเข้ามาเพิ่มศักยภาพระบบบริหารจัดการ การเตรียมพร้อมด้านภาษาให้กับบุคลากร รวมทั้งมืออาชีพที่จะเสริมความแข็งแกร่ง


    เปิดเออีซี' class='anchor-link' target='_blank'>เออีซีโอกาสทองธุรกิจไทย

    นางนูโร โซ๊ะมณี สเต๊ปเป้ ผู้ก่อตั้ง และมาสเตอร์เชฟ บริษัท บลู เอเลเฟ่นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือผู้ประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนทำอาหารและภัตตาคารบลูเอเลเฟ่นท์ กล่าวว่า ธุรกิจอาหารไทยมีโอกาสขยายตลาดอาเซียนได้มาก เพราะรสชาติถูกปาก เข้าถึงผู้คนได้ง่าย

    ทั้งนี้ บลูเอเลเฟ่นท์ เริ่มต้นกิจการในยุโรป พร้อมสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ร้านอาหารไทย ต่อมาได้ขยายกิจการเป็นโรงเรียนสอนอาหาร มีการตอบรับที่ดี

    "มีการพัฒนา สร้างอาหารไทยเป็นเซ็ตเช่นเดียวกับยุโรป ที่มีเมนูสตาร์ทเตอร์ เมนคอร์สต่างๆ และปรับให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เพิ่มการใช้วัตถุดิบที่ช่วยเพิ่มมูลค่าอาหารไทยมากขึ้น"

    ทางด้าน นางวาสนา ลาทูรัส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นารายณ์ อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า “นารายา” กล่าวว่า สินค้าแบรนด์ไทยยังมีโอกาสเติบโตได้ไกลในภูมิภาค

    แบรนด์นารายา วางจุดขายสินค้าที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ตั้งราคาในระดับที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ พร้อมเชื่อมโยงกลุ่มชาวบ้านที่เป็นผู้ผลิต สร้างรายได้ให้กับชุมชน

    Tags : ธีรพงศ์ จันศิริ • ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น • เศรษฐกิจโลก • เออีซี • เอกชน • ชฎาทิพ จูตระกูล • สยามพิวรรธน์ • ประทีป ตั้งมติธรรม • ศุภาลัย • สุณี เสรีภาณุ • แม็คกรุ๊ป • เออีซี

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้