พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับ Facebook หลังไม่ยอมบล็อกเนื้อหาทั้งหมดที่หน่วยงานรัฐไทยร้องขอ โดยกล่าวว่า หาก Facebook ไม่ทำตามข้อเรียกร้องให้ลบหรือปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายไทย อาจผิดกฎหมายมาตรา 27 ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกวาจะปฏิบัติให้ถูกต้อง” ภายในปีนี้ หน่วยงานรัฐไทยร้องขอบล็อกเนื้อหากว่า 4,700 รายการ แต่ Facebook บล็อกเนื้อหาตามคำร้องเพียง 1,300 รายการเท่านั้น คิดเป็นประมาณ 27% ของคำร้องทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นจำนวนมากพอสมควร เมื่อเทียบกับตลอดทั้งปี 2019 ที่ Facebook บล็อกเนื้อหาตามคำร้องของหน่วยงานรัฐไทยไปเพียง 1,461 รายการ คุณพุทธิพงษ์ ยังแสดงสถิติเทียบว่า Google ทำการบล็อกเนื้อหาบน Youtube ไปแล้วกว่า 93% จาก 1,600 คำร้อง เมื่อเทียบกับ 27% ที่ Facebook ทำตามคำขอ และนอกจากนี้รายงานของ Google ยังแสดงให้เห็นว่ามีการลบเนื้อหาที่ส่วนใหญ่ถูกหน่วยงานรัฐไทยระบุว่าเป็นการ “วิจารณ์รัฐบาล” ไปกว่า 4,000 รายการ คิดเป็น 84% ของคำร้องทั้งหมดไปในปี 2019 อีกด้วย การกระทำผิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่าน ‘เฟซบุ๊ก’ ถึง 4,767 ยูอาร์แอล แต่เมื่อประสานงานแจ้งไปตามคำสั่งศาล กลับลบข้อมูลเพียง 1,316 ยูอาร์แอล (ประมาณ 20%) เมื่อเทียบกับ youtube ซึ่งรับแจ้ง 1,616 ยูอาร์แอล ได้เร่งดำเนินการปิดเว็บ/ลบข้อมูล 1,507 ยูอาร์แอล หรือคิดเป็นตัวเลขเกือบ 90% pic.twitter.com/hzr1o97ZZD — พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (@BeePunnakanta) July 30, 2020 ที่มา - Reuters via Patpicha Tanakasempipat’s Twitter, @BeePunnakanta Topics: MICTThailandFacebook