รองนายกฯ 'วิษณุ' กล่าวปาฐกถา 8 ทศวรรษประชาธิปไตย พลวัตแห่งดุลอำนาจ ต้องแก้ปัญหาดุลอำนาจ จัดความสัมพันธ์ แนะ ร่างรธน.ให้ถ่วงดุลอำนาจ ไม่กำกวม วันนี้ (7พ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ มีการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 ในหัวข้อ 8 ทศวรรษประชาธิปไตย พลวัตแห่งดุลอำนาจ โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมวิชาการซึ่งระบุว่า การจัดดุลแห่งอำนาจ คือการจัดระบบความสัมพันธ์ ระหว่างอำนาจหนึ่งอีกอำนาจหนึ่ง เพราะบ้านเมืองนี้มีหลายอำนาจ ทั้งในอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ประชาชน และมากมาย ดังนั้น การจัดดุลอำนาจเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งแต่ละประเทศมีการมองปัญหาที่แตกต่างกัน ในการจัดดุลอำนาจ โดยเฉพาะรัฐรวม หรือสหภาพสหรัฐ จะมีปัญหาอยู่สองดุลอำนาจ คือทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลแห่งมลรัฐให้ได้ แต่ประเทศไทยมีความแตกต่างกัน ซึ่งประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐสภา มีการจัดดุลอำนาจลดหลั่งกันไป ประชาชนเลือก ส.ส. และ ส.ส. เลือกนายกรัฐมนตรี แล้วนายกเลือก คณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ปัญหาระดับชาติ คือ ประชาชนไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ที่ผ่านมาประชาชนไทยไม่เคยเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง นอกจากจะผ่าน ส.ส. ทั้งนี้ การจัดดุลอำนาจ ระดับชาติ และท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีสภากรุงเทพ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ แต่มีการเลือกผู้ว่าโดยตรง เปรียบเสมือนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ทำให้การจัดดุลอำนาจที่ผ่านมามีการจัดดุลอำนาจที่ผิดพลาด