ยุทธศาสตร์ใหม่สมิติเวช จาก “โรงพยาบาล” สู่แบรนด์ “สุขภาพ” ผ่านความร่วมมือ Grab

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 2 มีนาคม 2020.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจของโรงพยาบาลสมิติเวช ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ของไทย ที่ขยายตัวเองจากบริการด้านการแพทย์โดยตรง (medical services) มายังบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพด้วย (health-related services)

    รอบนี้ สมิติเวชลงมาจับมิติด้าน “อาหาร” แต่ไม่ใช่อาหารเพื่อคนป่วยแต่อย่างใด สิ่งที่สมิติเวชสนใจคืออาหารที่เรากินเป็นปกติในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมด้าน “ไลฟ์สไตล์การกิน” ของคนไทยที่เปลี่ยนไปมากที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีมาส่งถึงบ้าน แทนการออกไปกินข้าวนอกบ้าน

    [​IMG]

    ข้อดีของการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีคือความสะดวก อยากกินร้านดังก็ได้กิน โดยไม่ต้องไปต่อคิวเอง ไม่ต้องฝ่ารถติด หรือหาที่จอดรถให้ยากลำบาก แต่ความสะดวกนี้ก็อาจมีด้านกลับ ที่ทำให้เรากินอาหารบางประเภทที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากนักได้สะดวกเกินไป เช่น สั่งชาไข่มุกที่อุดมด้วยน้ำตาลมากินทุกวัน หรือกินอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดที่รู้ทั้งรู้ว่าอุดมด้วยไขมัน แต่อดไม่ได้เพราะโปรโมชันโดนใจ เป็นต้น

    การกินอาหารที่ไม่ดีสุขภาพสะสม ย่อมเป็นสาเหตุของการป่วยไข้ สมิติเวชในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่มีแนวคิดเรื่องการป้องกันก่อนเกิดโรค (preventive healthcare) ตามแนวคิด “เราไม่อยากให้ใครป่วย” ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 จึงเข้ามาอุดช่องว่างตรงนี้ โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านสายสุขภาพที่มีอยู่แล้ว ผนวกกับพาร์ทเนอร์คือ Grab ในฐานะแพลตฟอร์มด้านส่งอาหารรายใหญ่ของไทย ออกมาเป็นบริการชื่อว่า “หมอ(สมิติเวชช่วย)ดู” ที่เปรียบได้กับการมีหมอจากโรงพยาบาลสมิติเวช มาช่วยคัดกรองอาหารการกินให้เราเสมอ เมื่อสั่งอาหารมากินที่บ้าน

    สิ่งที่ผู้ใช้งาน Grab ต้องทำ เพียงแต่ตอบคำถามด้านสุขภาพเพื่อให้สมิติเวชสามารถแนะนำอาหารให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน โดยเบื้องต้น สมิติเวชสามารถแนะนำเมนู 7 แบบ สำหรับลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกันไป เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ คนกินมังสวิรัต เป็นต้น

    1. เมนูเสริมดวงสุขภาพ สำหรับคนให้ความสำคัญสุขภาพ
    2. เมนูเสริมโหงวเฮ้งคุณแม่ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
    3. เมนูปราศจากเนื้อสัตว์เสริมดวงเมตตามหานิยม สำหรับคนชอบมังสวิรัต
    4. เมนูแก้กรรมท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูก
    5. เมนูเสริมดวงหัวใจ สำหรับคนที่อยากบำรุงสุขภาพหัวใจ
    6. เมนูแก้ชง สำหรับคนชอบชงและชน(แก้ว) สำหรับสายปาร์ตี้
    7. อร่อยได้สุขภาพจาก Street Food ร้านดัง สำหรับคนชอบแนว Street Food ที่เน้นอาหารดีต่อสุขภาพ

    ในด้านกลับ ความร่วมมือของ Grab และสมิติเวช ยังเปิดให้

    • ลูกค้า Grab สามารถนำคะแนนสะสม Grab Rewards มาใช้เป็นส่วนลดค่าเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในเครือสมิติเวชได้ 10% (เฉพาะค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฎิบัติการบางรายการ และค่าฉายรังสี โดยยกเว้นค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฎิบัติการ และค่าฉายรังสีบางรายการ)
    • ลูกค้าที่ใช้บริการโรงพยาบาลสมิติเวชในเขตกรุงเทพ (สุขุมวิท ศรีนครินทร์ ไชน่าทาวน์ และธนบุรี) ยังได้ส่วนลดหากเดินทางด้วย Grab ไปหรือกลับโรงพยาบาลเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงการสั่ง Grab Food ส่งอาหารไปที่โรงพยาบาลด้วย (เช่น คนที่ต้องเฝ้าญาติที่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล และต้องการความสะดวกเรื่องอาหารของญาติ)

    ความร่วมมือของ Grab และสมิติเวช แสดงให้เห็นถึงการจับมือแบบข้ามอุตสาหกรรม (cross-industry) โดยอาศัยจังหวะที่ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่สามารถนำความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย มาเชื่อมโยงกันเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้

    ฝั่งของ Grab ได้ต่อยอดบริการส่งอาหาร จากเดิมที่เป็นผู้ใช้บริการด้านขนส่งอย่างเดียว ก็มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากเมนูสุขภาพที่คัดสรรโดยสมิติเวช ส่วนฝั่งสมิติเวชก็ขยายตัวเองจากแบรนด์โรงพยาบาลที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่อาจจำกัดขอบเขตลูกค้า ไปสู่แบรนด์ด้านสุขภาพที่จับลูกค้ากว้างกว่าเดิมมาก

    Topics: Samitivej HospitalGrabDeliveryHealth
     

แบ่งปันหน้านี้