นับแต่ปีที่แล้วที่ Wi-Fi Alliance ได้เปลี่ยนชื่อมาตรฐาน 802.11ax ให้กลายเป็น Wi-Fi 6 เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่ามาตรฐานพัฒนาไปถึงจุดใด แต่สำหรับผู้ใช้โดยทั่วไปอาจเข้าใจว่าการอัพเกรด Wi-Fi ก็ช่วยเพียงเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น ดังนั้นเมื่อไม่ต้องการความเร็วเพิ่มเติม ประโยชน์ที่จะอัพเกรดก็อาจจะไม่มากนัก และสามารถรอไปอีกระยะ หรือแม้แต่ติดตั้งเครือข่าย Wi-Fi 5 เพิ่มเติมไปพลางๆ ก่อน ในความเป็นจริงแล้ว Wi-Fi 6 ออกแบบโดยเพิ่มแนวคิดใหม่ๆ เข้าหลายประการ เช่น การรองรับอุปกรณ์ IoT โดยตรง, การเครื่องที่ข้าม Access Point โดยเชื่อมต่อได้ต่อเนื่อง, การรองรับการอัพโหลดเท่าๆ กับดาวน์โหลด, หรือการรองรับเครื่องลูกข่ายจำนวนมากในสถานที่เดียวกัน ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้การอัพเกรดไปยัง Wi-Fi 6 หรือฮาร์ดแวร์ที่รองรับโดยเร็วที่สุด สร้างความได้เปรียบอย่างสูงให้กับองค์กรที่ตัดสินใจอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานไว้แต่เนิ่นๆ ทาง Wi-Fi Alliance จะเริ่มรับรองอุปกรณ์ในมาตรฐาน Wi-Fi 6 ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้ อย่างไรก็ดีมาตรฐานสำคัญที่ต้องการการปรับเปลี่ยนระดับชิปนั้นได้กำหนดไว้ทั้งหมดแล้วในร่างมาตรฐานที่ 3 การปรับตามมาตรฐานที่เหลือก่อนจะเป็นมาตรฐานจริงสามารถทำได้ผ่านการอัพเดตเฟิร์มแวร์เท่านั้น ฟีเจอร์สำคัญของ Wi-Fi 6 ได้แก่ รองรับอุปกรณ์ IoT: อุปกรณ์ IoT มีข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่อย่างมาก ฟีเจอร์ Target Wakeup Time (TWT) เปิดโอกาสให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานในโหมดประหยัดพลังงานแทบตลอดเวลา ลดการใช้พลังงานโดยรวม ทำให้เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์บน Wi-Fi เดียวกับอุปกรณ์อื่น การอัพโหลดเต็มประสิทธิภาพ: ใน Wi-Fi 5 การรองรับเชื่อมต่อแบบ MU-MIMO นั้นรองรับเฉพาะขาดาวน์โหลดเท่านั้น แต่ในแอปพลิเคชั่นยุคใหม่ๆ ต้องการการอัพโหลดมากขึ้น Wi-Fi 6 จึงออกแบบให้รองรับ MU-MIMO ทั้งขาอัพโหลดและดาวน์โหลด ลด latency เน็ตเวิร์ค: ความได้เปรียบของการเชื่อมต่อแบบสายมีข้อดีที่ ระยะเวลาหน่วง (latency) นั้นต่ำกว่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi ค่อนข้างชัดเจน แต่ใน Wi-Fi 6 สามารถทำ latency ลดลงกว่า Wi-Fi 5 ถึง 60% เพิ่มแอปพลิเคชั่นเช่นการแสดงภาพ VR ตรงจากเซิร์ฟเวอร์ถึงแว่น VR เพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับ: ใน Wi-Fi 6 รองรับอุปกรณ์สูงสุดถึง 1024 รายการ เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวจาก Wi-Fi 5 อัพเกรดให้คุ้มกว่าด้วย Huawei Wi-Fi 6 Huawei เป็นผู้ร่วมพัฒนามาตรฐาน Wi-Fi 6 ตั้งแต่ต้น พร้อมกับเทคโนโลยี 5G ของบริษัทที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ Wi-Fi 6 ด้วย ทำให้อุปกรณ์ Huawei Wi-Fi 6 มีฟีเจอร์การทำงานที่เหนือกว่า เทคโนโลยี AirFlex 4: ของ Huawei ทำให้ระยะการเชื่อมต่อของ Huawei Wi-Fi 6 เพิ่มขึ้นกว่าอุปกรณ์จากผู้ผลิตอื่นถึง 20% รองรับโปรโตคอล IoT อื่น: อุปกรณ์ IoT อาจมาจากหลายผู้ผลิตที่ใช้หลายโปรโตคอล ช่อง Flexible USB ใน Huawei Wi-Fi 6 ทำให้สามารถรองรับทั้ง Zigbee, Bluetooth หรือแม้แต่ RFID โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เชื่อมต่อได้ต่อเนื่องแม้เคลื่อนที่: ใช้งาน Wi-Fi ได้เหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เช่น การใช้ VoIP, วิดีโอคอล โดยทุกคนสามารถเคลื่อนที่ไปมาในพื้นที่ให้บริการ โดยไม่มีสะดุด อุปกรณ์ของ Huawei พร้อมให้องค์กรอัพเกรดไปยัง Wi-Fi 6 แล้ววันนี้ ด้วย AP7060DN ที่รองรับ Wi-Fi 6 เต็มรูปแบบ ทั้งวิทยุแบบ MU-MIMO และ OFDMA การเชื่อมต่อความเร็วสูง 1024QAM ทำแบนวิดท์ได้ถึง 6 กิกะบิตต่อวินาที และสามารถใช้ร่วมกับ Access Controller เพื่อการรองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่านหลาย Access Point สนใจเทคโนโลยี Huawei Wi-Fi 6 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ Huawei หรือติดต่อตัวแทนจำหน่ายเพื่อเข้าไปสาธิตได้แล้ววันนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม : https://bit.ly/2KwT62L Topics: HuaweiWi-FiAdvertorial