ทีมวิจัยออกเตรเลียสร้างปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับโรคหอบหืด/ปอดบวม เพียงแค่ฟังเสียงไอ

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 7 มิถุนายน 2019.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ทีมวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย Curtin และมหาวิทยาลัย Queensland สร้างปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจำแนกโรคทางเดินหายใจจากเสียงไอในเด็กได้ โดยหากใช้เสียงอย่างเดียวมีความแม่นยำสูงกว่าทีมแพทย์ที่ฟังเสียงไออย่างเดียวเหมือนกัน

    ปัญญาประดิษฐ์สามารถแยกโรค หอบหืด (asthma), ปอดบวม (pneumonia), โรคครูป (croup), โรคหลอดลมอักเสบ (bronchiolitis), และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract disease) โดยทีมแพทย์และปัญญาประดิษฐ์ได้ฟังเสียงไออย่างเดียวเหมือนๆ กัน

    กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 29 วันถึง 12 ปี จำนวน 585 คน ทุกโรคปัญญาประดิษฐ์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำกว่าแพทย์ เช่นโรคหอบหืด ทำนายได้แม่นถึง 97% เทียบกับแพทย์ 91% โดยรวมอยู่ในช่วง 83-97% ขณะที่แพทย์วินิจฉัยได้แม่น 81-91%

    ในการรักษาจริงแพทย์ไม่ได้ฟังเสียงไอเพียงอย่างเดียวแต่มีการซักประวัติและหาข้อมูลอื่นเพื่อหาสาเหตุการป่วย การใช้เครื่องมือเช่นนี้จึงเป็นเพียงการให้ข้อมูลประกอบการรักษาเท่านั้น โดยอาจจะมีประโยชน์ในการให้บริการการแพทย์ระยะไกล ที่ซอฟต์แวร์สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นได้เลย

    งานวิจัยนี้ได้ทุนจากบริษัทเอกชน ResApp Health ที่กำลังพัฒนาเครื่องวินิจฉัยโรคมาขาย โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจากมหาวิทยาลัย Queensland

    ที่มา - iTNews

    [​IMG]

    ภาพเอ็กซ์เรย์ปอด โดย oracast

    Topics: AustraliaArtificial IntelligenceMedical
     

แบ่งปันหน้านี้