การแข่งขันสตาร์ทอัพโดยทั่วไปมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจที่มีไอเดียเจ๋งๆ ให้มีเงินทุนเพื่อจะสานต่อธุรกิจของตนต่อไปได้ แต่ U.REKA โครงการส่งเสริมนักวิจัยและผู้ประกอบการนวัตกรรม มีเป้าหมายไกลถึงระดับที่ให้ประเทศไทยมีความแข็งแรงทางเทคโนโลยี ทัดเทียมนานาชาติ ดิจิทัล เวนเจอร์สร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เปิดโครงการ U.REKA ขึ้นเป็นครั้งที่สอง ตั้งเป้าใหญ่คือ ส่งเสริมความแข็งแกร่งของสตาร์ทอัพไทยสาย Deep Tech และขับเคลื่อนการเติบโตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว U.REKA คืออะไร U.REKA คือโครงการส่งเสริมนักวิจัยและผู้ประกอบการนวัตกรรมที่เน้นเทคโนโลยี Deep Tech โดยเฉพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพทางดิจิทัลของประเทศไทย โดยตัวโครงการไม่มีเพียงฝั่งธุรกิจและอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกับภาคการศึกษาด้วย นายอรพงศ์ เทียนเงิน ผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์และประธานกรรมการ ดิจิทัล เวนเจอร์ส บอกว่า ประเทศไทยยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ อันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีศักยภาพทางดิจิทัลไม่เพียงพอ ดังนั้น U.REKA จึงตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม Deep Tech (AI,Blockchain, Big Data, Cloud&Security, AR/VR, Quantum Computing) ซึ่งยังหาคนไทยที่เก่งได้ยาก และต้องการกระตุ้นให้สังคมตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้งานได้จริง <img src"https://i.imgur.com/nbw3LwW.png"' /> นอกจากเพิ่มขีดความสามารถดิจิทัล ยังมาพร้อมกับความพยายามเพิ่มความสามารถของภาพการศึกษาไทยให้ตามโลกได้ทัน นายอรพงศ์ บอกเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาซึ่งจะช่วยให้สถาบันศึกษาตามการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้ทัน เพราะการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในมหาวิทยาลัยให้ทันสมัยนั้นทำได้ยาก มีระเบียบวิธีการหลายขั้นตอน ที่สำคัญ วงจรของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจก็เร็วกว่าวงการการศึกษามาก โครงการ U.REKA จึงมุ่งหวังจะทำให้วงจรการเปลี่ยนแปลงหรือ cycle ของวงการธุรกิจกับวงการการศึกษาหมุนเป็นจังหวะเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยก็มีนักวิจัย Deep Tech อยู่ในมหาวิทยาลัยมาก ทางบริษัทต้องการสนับสนุนคนกลุ่มนี้ให้นำความรู้มาต่อยอดในเชิงธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว สำหรับอุตสาหกรรมที่กำหนดในโครงการ U.REKA นั้น ครอบคลุมตั้งแต่การแพทย์ สาธารณสุข อาหาร เกษตรกรรม ค้าปลีก พลังงาน การเดินทาง โลจิสติกส์ และการเงินด้วย สำหรับผู้ที่เข้ารอบ R&D ในรุ่น 1 ประกอบด้วย Easy Rice ใช้ AI ยกระดับการตรวจสอบคุณภาพข้าวและธัญพืช PERCEPTION ระบบคอมพิวเตอร์สามมิติตั้งโต๊ะ ที่แสดงภาพเสมือนของวัตถุบนโต๊ะจริงๆ PORDEEKUM.AI จูนใจ: แชทบอทผู้ช่วยเหลือด้านอารมณ์สำหรับผู้มีภาวะซึมเศร้า TINYEPICBRAINS เชื่อมต่อคนเข้าสู่โลกออนไลน์ผ่าน Video QR พร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค QUTE กลุ่มวิจัยที่มีเป้าหมายคือ เตรียมประเทศไทยให้พร้อมรับเทคโนโลยีควอนตัม รายละเอียดการรับสมัครรุ่นที่ 2 การรับสมัครผ่านระบบออนไลน์ (Online Application) ได้ที่ U.REKA ระยะเวลาเปิดรับสมัคร : 18 มีนาคม – 3 พฤษภาคม 2019 หรือจนกว่าจะคัดเลือกครบ 30 ทีมเพื่อเข้าสู่รอบสัมภาษณ์เชิงลึก หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วงบ่มเพาะและค้นคว้าวิจัยต่อไป สิ่งที่ผู้เข้ารอบจะได้คือ เงินทุนสนับสนุนด้านการวิจัยมูลค่าสูงสุด 5,000,000 บาทต่อทีม ตลอดระยะเวลา 6 – 24 เดือนของโครงการ, พื้นที่ทำงาน Co-Working Space, เมนเทอร์ (ทั้งด้านธุรกิจและเทคนิค), โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายและสิทธิ์การเข้าถึงกลุ่ม Venture Capital และผู้ลงทุนอื่นๆ Topics: StartupThailand