ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติแสดงภาพถ่ายหลุมดำครั้งแรกในโลก

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 10 เมษายน 2019.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติในชื่อกลุ่ม Event Horizon Telescope (EHT) เปิดเผยภาพหลุมดำที่ถ่ายได้เป็นภาพแรกของโลกซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซี่ M87 ที่ห่างออกไปจากโลก 55 ล้านปีแสง ภาพที่ได้นี้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุจาก 8 ที่ในการถ่าย

    จากภาพถ่ายที่ปรากฎศูนย์กลางวงกลมสีดำเป็นขอบของ event horizon ซึ่งเป็นบริเวณที่วัตถุหรือแม้แต่แสงไม่สามารถหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้และขอบสว่างโดยรอบที่เรียกว่า ring of fire เกิดจากแก้สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลีี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งตรงตามทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้

    กลุ่ม EHT อาศัยเทคนิคที่เรียกว่า very-long-baseline interferometry (VLBI) ที่ต้องนัดจังหวะเวลาจับภาพระหว่างกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มให้พร้อมกัน และอาศัยการหมุนตัวของโลกเพื่อให้ได้ภาพที่เหมือนมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลกทั้งใบ โดยกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่น 1.3 มิลลิเมตร

    กล้องโทรทรรศน์ที่ร่วมสร้างภาพครั้งนี้ได้แก่ ALMA, APEX, IRAM 30-meter telescope, James Clerk Maxwell Telescope, Large Millimeter Telescope Alfonso Serrano, Submillimeter Array, Submillimeter Telescope, และ South Pole Telescope (ดูแผนที่ตำแหน่งกล้องท้ายข่าว) กล้องแต่ละตัวจับคลื่นความแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่นที่กำหนดในช่วงเวลา 10 วันในปี 2017 โดยกล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวสร้างข้อมูลวันละ 350 เทราไบต์ ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้จึงต้องส่งข้อมูลที่บรรจุในฮาร์ดไดร์ฟเพื่อนำไปประมวลผลภาพ

    ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปประมวลผลโดยใช้ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบันวิทยุดาราศาสตร์ Max Planck และ MIT Haystack Observatory ร่วมกัน

    ที่มา - Event Horizon Telescope, BBC

    [​IMG]

    Topics: Black holeAstronomy
     

แบ่งปันหน้านี้