ธนาธร เปิดรายงานศึกษา Hyperloop ในไทย กรุงเทพ-เชียงใหม่ 52 นาที, ตั้งเป้าเปิดปี 2030

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 14 มีนาคม 2019.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    จากข่าว ธนาธรทวีตโชว์รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี Hyperloop ในประเทศไทย วันนี้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงข้อมูลเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

    รายงานฉบับนี้เป็นการว่าจ้างบริษัท Transpod จากประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี Hyperloop ตามแนวคิดของ Elon Musk เช่นเดียวกับ Hyperloop One และ Hyperloop Transportation Technologies) ให้เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของ Hyperloop ในประเทศไทย โดยเริ่มศึกษาในเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ-ภูเก็ต เริ่มศึกษาในเดือนตุลาคม 2018 และใช้เวลาประมาณ 5 เดือน

    นายธนาธรระบุว่า ตอนแรกตั้งใจจะเผยแพร่รายงานศึกษาฉบับเต็มกับสาธารณะ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ตอนนี้ยังติดประเด็นเรื่องกฎหมายเลือกตั้ง จึงยังไม่เปิดเผยรายงานจนกว่าจะเลือกตั้งเสร็จ คือจะเปิดรายงานในวันที่ 25 มีนาคม 2562 ส่วนค่าจ้างศึกษานั้นยังไม่ขอเปิดเผย เพราะเป็นการจ้างศึกษาโดยส่วนตัวของนายธนาธรเอง

    [​IMG]

    นายธนาธรบอกว่าแผนการเรื่อง Hyperloop เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ในการสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมในประเทศไทย ที่เป็นแค่รับจ้างการผลิตให้กับแบรนด์จากต่างประเทศ สร้างรายได้ให้คนในประเทศไม่เยอะนัก ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ยุทธศาสตร์เดินตามต่างประเทศ (path-following) แต่ตอนนี้ได้เวลาแล้วที่จะกระโดดข้ามอุตสาหกรรมเดิม (path-skipping) หรือสร้างทางเดินใหม่ของตัวเอง (path-creating) ดังที่ประเทศอย่างไต้หวันหรือเกาหลีใต้ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งในมุมมองของเขา เทคโนโลยี Hyperloop เป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทย

    ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายคมนาคม บอกว่า Hyperloop ถือเป็นรูปแบบการเดินทางแบบที่ 5 (นอกเหนือจากการขนส่งทางถนน ราง น้ำ อากาศ)

    [​IMG]

    รายละเอียดทางเทคนิคของ Hyperloop คือใช้ท่อขนาด 4 เมตร วางอยู่เหนือดินโดยใช้เสาเป็นโครงสร้าง ใช้พื้นที่น้อยกว่าการขนส่งทางรางประเภทอื่น ส่วนตัวยานพาหนะหรือ pod ที่วิ่งในท่อ มีความปลอดภัยระดับเดียวกับเครื่องบิน ขนส่งได้ในทุกสภาพอากาศเพราะอยู่ในท่อระบบปิด และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ

    [​IMG]

    [​IMG]

    นอกจากการขนส่งผู้โดยสารแล้ว Hyperloop ยังสามารถใช้ขนส่งสินค้า (freight) ได้ด้วย เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของการขนส่งทางเครื่องบินได้อีกทางหนึ่ง

    [​IMG]

    ในแง่ของความเร็ว Hyperloop สามารถทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบันทดลองที่ประมาณ 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งถือว่าเยอะกว่ารถไฟความเร็วสูง ที่มีความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเข้าไปแข่งขันกับเครื่องบินได้ด้วย

    [​IMG]

    ในแง่ของการใช้พลังงาน Hyperloop ใช้พลังงานต่ำกว่าการขนส่งประเภทอื่น คือ 0.15 เมกะจูลล์ต่อผู้โดยสารหนึ่งคนต่อกิโลเมตร

    [​IMG]

    หากเปรียบเทียบ Hyperloop กับรถไฟความเร็วสูง โดยเทียบเส้นทางระหว่างกรุงเทพ-เชียงใหม่ ประมาณ 600 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ Hyperloop สามารถทำได้ภายใน 52 นาที อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ pod ของ Hyperloop มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้นจึงสามารถปล่อยได้ถี่กว่ารถไฟความเร็วสูงมาก อยู่ในระดับการปล่อย 42 pod ต่อชั่วโมง คิดเป็นปริมาณผู้โดยสาร 4,000 คน/ชั่วโมง ในขณะที่รถไฟความเร็วสูงอาจทำได้มากที่่สุดแค่ประมาณ 3 ขบวนต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นปริมาณผู้โดยสาร 2,750 คน/ชั่วโมง

    [​IMG]

    ในแง่ของต้นทุนการก่อสร้าง ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากการประเมินของ JICA อยู่ที่ 727 ล้านบาท ส่วน Hyperloop คือ 598 ล้านบาท ราคาค่าโดยสารใกล้เคียงกัน (1090 บาท vs บาท) ส่วนผลตอบแทนด้านการเงินเป็นการประเมินคร่าวๆ ในรายงานขั้นต้น และจะไปศึกษาต่ออย่างละเอียดในขั้นถัดไป

    [​IMG]

    [​IMG]

    อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงมีการพัฒนามานานแล้ว มีประเทศที่เป็นเจ้าตลาดอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน ทำให้ไทยมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีเองน้อย ชิ้นส่วนต้องนำเข้าเป็นหลัก ในขณะที่ Hyperloop เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังมีโอกาสด้านการศึกษาวิจัยอีกมาก รวมถึงมีโอกาสผลิตชิ้นส่วนในประเทศเอง สร้างห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) อื่นๆ ตามมาอีกมาก

    [​IMG]

    นายธนาธร บอกว่าตอนนี้หลายประเทศกำลังเริ่มศึกษา Hyperloop กัน ซึ่งประเทศไทยก็ควรจะเริ่มศึกษาด้วยเช่นกัน หากพรรคอนาคตใหม่ได้เป็นรัฐบาล จะจำลองท่อขนส่งความยาว 10 กิโลเมตร ทำห้องทดสอบความอันดับ และห้องทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-อาณัติสัญญาณต่างๆ และน่าจะมีรถต้นแบบเสร็จในปี 2021 เพื่อใช้ทดสอบในท่อความยาว 10 กิโลเมตร และตั้งเป้าเปิดใช้งานจริงในปี 2030

    นายธนาธรบอกว่าหากตั้งเป้าเปิดบริการจริงในปี 2030 ก็ต้องเริ่มกระบวนการต่างๆ เริ่มดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมทุนในแบบ PPP ตั้งแต่ปี 2021 เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในแง่เทคโนโลยี แง่กฎหมาย เช่น ใบอนุญาต

    แนวทางของพรรคอนาคตใหม่ ตั้งเป้าให้ศูนย์กลางของอุตสาหกรรม Hyperloop อยู่ที่พิษณุโลก เพราะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในอินโดจีนอยู่แล้ว และช่วยขยายความเจริญออกจากเขตอุตสาหกรรมเดิมคือบริเวณภาคตะวันออกด้วย

    นโยบายคมนาคมของพรรคอนาคตใหม่ มองว่าควรให้ความสำคัญกับรถไฟรางคู่เป็นอันดับแรก แต่ให้ข้ามรถไฟความเร็วสูงไปเลย แล้วมุ่งไปสู่ Hyperloop แทน โดยจะลงทุนสร้างมันเมื่อเทคโนโลยีพร้อม เมื่อเร็วกว่าและถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง นอกจากนี้ยังต้องการสร้างอุตสาหกรรมผลิตรถไฟ-รถเมล์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง และเป็นการจ้างงานในประเทศด้วย

    Topics: HyperloopTransportationThailand
     

แบ่งปันหน้านี้