Whitfield Diffie นักวิทยาการเข้ารหัสลับ ที่ร่วมออกแบบกระบวนการแลกเปลี่ยนกุญแจ Diffie–Hellman ขึ้นเวทีเสวนาในงาน RSA Conference ปีนี้ วิจารณ์ถึงกฎหมายการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงข้อมูล (Assistance and Access Act - AAA) ของออสเตรเลียว่าไม่น่าได้ประโยชน์ (would not be productive) เขาระบุว่าการขอความช่วยเหลือในการเข้าถึงข้อมูลจะสร้างภาระให้กับองค์กรถูกกฎหมาย แต่ไม่ชัดเจนว่าจะสร้างภาระให้ผู้ก่อการร้ายเหมือนกันไหม พร้อมกับวิจารณ์นักการเมืองออสเตรเลียที่สนับสนุนกฎหมายนี้ว่ามองไม่เห็นความเป็นไปได้อื่นๆ โดยมองการเข้ารหัสเหมือนการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ที่พอห้ามแล้วประเทศก็จะปลอดภัยจากนิวเคลียร์ แต่การออกกฎหมายแบบนี้เหมือนกับการออกกฎหมายควบคุมเคมีแล้วคิดว่าจะปลอดภัยจากโลกร้อน Paul Kocher นักวิจัยความมั่นคงปลอดภัยแสดงความเห็นสนับสนุน Diffie ว่ากฎหมายนี้เป็นการถอยหลังลงคลองเต็มร้อย และการสร้างช่องโหว่ในระบบก็เปิดทางให้คนร้ายคนอื่นมาใช้งานได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐจัดการช่องโหว่เหล่านี้ได้แย่ เช่น มัลแวร์ NotPetya ที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์เจาะระบบที่หลุดออกจากจาก NSA และหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียก็ไม่น่าทำงานได้ดีกว่า NSA นับแต่ออสเตรเลียผ่านกฎหมาย AAA เมื่อปลายปีที่แล้ว ภาคเอกชนแสดงความเห็นถึงผลเสียจากกฎหมายฉบับนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น บริษัทซอฟต์แวร์เข้ารหัสอ่าน Senetas และหน่วยงานข้ามชาติอย่าง Mozilla และ FastMail ที่มา - iT News ภาพ Whitfield Diffie โดย The Royal Society Topics: AustraliaLawSecurity