ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งนี้ จะมีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุ ยังมีความน่ากังวลหลายประการ บังคับผู้เกี่ยวข้องกับภัยไซเบอร์ระดับวิกฤต ต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ถ้าโดนร้องขอ และเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล โดยใน พ.ร.บ. ไซเบอร์มีการกำหนดระดับของความรุนแรงภัยไซเบอร์ไว้ 3 ระดับ 1) ภัยระดับไม่ร้ายแรง หน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) สั่งดำเนินการได้ แต่ต้องขอหมายศาลก่อน 2) ภัยระดับร้ายแรง หน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) หน่วยงานสามารถสั่งดำเนินการได้ ต้องรายงานศาลภายใน 48 ชั่วโมง 3) ภัยระดับวิกฤต หน่วยงานที่ดูแลคือ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดำเนินการได้เลย ไม่ต้องขอหมายศาล เนื่องจากเนื้อหากฎหมาย มาตราที่ 66 - 68 ระบุว่า ถ้าเกิดมีภัยไซเบอร์ระดับวิกฤต ร้ายแรง เลขาธิการสามารถดำเนินการได้ทันทีไม่ต้องขอหมายศาล และสามารถขอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับภัยไซเบอร์นั้นได้แบบเรียลไทม์ และบังคับว่าผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือโดยเร็ว (มาตรา 67) และเพียงมีเหตุต้องสงสัย ก็สามารถขอข้อมูลได้ ภาพจาก สนช. นิยามของภัยความมั่นคงไซเบอร์ กินความหมายกว้าง อาจส่งผลให้ "เนื้อหา" ก็สามารถเป็นภัยไซเบอร์ได้ ตัวนิยามภัยไซเบอร์ นอกจากจะมีความหมายเป็นภัยต่อระบบโครงสร้างความปลอดภัยแล้ว ยังรวมถึงภัยที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งยังกำกวม และอาจทำให้ "เนื้อหา" สามารถเป็นภัยไซเบอร์ได้ สำหรับความคืบหน้า พ.ร.บ. ไซเบอร์ จากที่จะมีการพิจารณาใน สนช. วันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้เลื่อนออกไปเป็นสัปดาห์ถัดไปแทน (25 ก.พ.-1 มี.ค.) อ่านกฎหมายฉบับเต็มได้ ที่นี่ ที่มา - Art Suriyawongkul, Post Today Topics: ThailandCybersecurityLaw