กรุงศรีตั้งเป้า3ปีติดท็อปทรีแบงก์ในไทย

หัวข้อกระทู้ ใน 'ข่าวสารการลงทุน' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 22 กันยายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    แบงก์กรุงศรีวางแผน 3 ปี ปักธงติด 1 ใน 3 ท็อปทรีแบงก์ในประเทศไทย จุดพลุสนามแข่งลูกค้าญี่ปุ่นในไทย

    นายโนริอากิ โกโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารกรุงศรี เปิดเผยว่า การควบรวมธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU) สาขาประเทศไทย กับธนาคารกรุงศรีมาถึงขั้นตอนสุดท้ายและในเดือนธ.ค.ปีนี้และเดือนม.ค.ปีหน้า ซึ่งธนาคารจะสามารถให้บริการได้ทั้งลูกค้าบริษัทญี่ปุ่นภายใต้ระบบเดียวกัน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ธนาคารญี่ปุ่นแห่งอื่นในประเทศไทยไม่สามารถทำได้ โดยในขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างทำแผน 3 ปี หรือแผนระยะกลางส่งให้กลุ่มมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชี่ยล กรุ๊ป (MUFG) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่พิจารณา โดยมีเป้าหมายที่จะติด 1 ใน 3 ธนาคารสำคัญสุดสำหรับลูกค้ากลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ และลูกค้าเป็นเอสเอ็มอี

    นายโกโตะกล่าวถึง 3 ยุทธศาสตร์สำคัญธนาคารกรุงศรีตอนนี้ว่าในแง่ธุรกิจรายย่อยที่ธนาคารถือเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว ธนาคารจะคงความเป็นผู้นำในธุรกิจคอนซูมเมอร์ไฟแนนซ์กับเช่าซื้อรถยนต์ รวมทั้งจะเน้นขยายธุรกิจไปให้ครอบคลุมถึงกลุ่มลูกค้าบริษัทญี่ปุ่นมากขึ้น ด้วยช่องทางสาขากว่า 609 แห่งทั่วประเทศจากเดิมที่บีทีเอ็มยูมีสาขาเดียวในกรุงเทพฯแต่ดูแลบริษัทญี่ปุ่นในไทยทั้งหมด

    โดยปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นในไทย 4,000 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ 2,600 แห่ง ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีญี่ปุ่นไม่มีตัวเลขขณะนี้ และมีชาวญี่ปุ่นทำงานในไทยประมาณ 43,000 คน ในจำนวน 80% เป็นผู้บริหารหรือพนักงานระดับจัดการที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ธนาคารจะมุ่งเน้น

    ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้จัดโครงการจับคู่ธุรกิจที่เป็นการเชื่อมโยงบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทในประเทศไทย ที่ต่างให้ความสนใจซึ่งกันและกัน แต่ที่ผ่านมา เอสเอ็มอีญี่ปุ่นไม่สามารถหาพาร์ทเนอร์ในไทยได้หรือเอสเอ็มอีไทยอยากหาพาร์ทเนอร์ญี่ปุ่น ดังนั้นการทำธุรกิจจับคู่ระหว่างบีทีเอ็มยูกับของแบงก์กรุงศรี จะช่วยปิดช่องว่างให้บีทีเอ็มยูที่ส่วนใหญ่จะมีลูกค้าคอร์ปอเรทบริษัทข้ามชาติ

    ขณะที่ธนาคารกรุงศรีมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี โดยโครงการล่าสุดธนาคารได้นำบริษัทญี่ปุ่น 50 ราย และ บริษัทไทยอีก 70 ราย จากทั้งกลุ่มบริการสุขภาพและอาหาร เป็นต้น ทำให้เกิดธุรกิจได้กว่า 250 รายการ เพิ่มขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า จำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่เรามีก็เพิ่มขึ้นสองเท่า ส่วนจำนวนบริษัทไทยที่เป็นลูกค้าเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากที่มีในปีที่แล้ว นับเป็นตัวสถิติค่อนข้างดี และถือเป็นการให้บริการที่นอกเหนือจากธุรกิจการเงิน

    “เราจะดึงกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่สนใจเข้ามาในไทย โดยใช้รูปแบบธุรกิจของธนาคารกรุงศรีมารองรับ เพื่อสร้างสัมพันธ์เชิงลึกมากขึ้นกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ทั้งแง่บริษัทและพนักงาน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่แบงก์ญี่ปุ่นแห่งอื่นทำไม่ได้ และ ยังช่วยให้บีทีเอ็มยูเข้าถึงลูกค้ารายย่อยชาวไทยโดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นในไทยตอนนี้ว่าจ้างพนักคนไทยประมาณ 7 แสนคน ซึ่งในอดีตการชิงส่วนแบ่งตลาดจากแบงก์ไทยยังไม่สามารถทำได้ ขณะเดียวกันการเข้ามารุกในกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นของธนาคารกรุงศรี ยังทำให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในลูกค้ากลุ่มนี้”

    นายโกโตะยังกล่าวว่า สำหรับยุทธศาสตร์สุดท้ายคือการรองรับลูกค้าในประเทศและที่มีแผนออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วยโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี คือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามด้วย ผ่านเครือข่ายของบีทีเอ็มยูที่มีสาขาอยู่หลายประเทศในอาเซียน และเอ็มยูเอฟจีบริษัทแม่ซึ่งมีเครือข่ายสาขาอยู่ทั่วโลก

    ขณะที่ธนาคารกรุงศรีมีสาขาอยู่ในลาว 2 แห่ง โดยยุทธศาสตร์การทำธุรกิจในต่างประเทศจะแบ่งรูปแบบธุรกิจออกเป็นสองส่วน คือธุรกิจขนาดใหญ่จะให้บริการผ่านเครือข่ายของเอ็มยูเอฟจี ส่วนธุรกิจรายย่อยจะดำเนินการภายใต้แบรนด์กรุงศรี โดยในขณะนี้ธนาคารกรุงศรีได้มีธุรกิจร่วมลงทุนในลาวทั้งคอนซูมเมอร์และออโต้ไฟแนนซ์

    นอกจากลาวแล้วบีทีเอ็มยูมีสำนักงานตัวแทนอยู่ในกัมพูชา และอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารจากทางการพม่า ส่วนเวียดนามทางกลุ่มเอ็มยูเอฟจีและบีทีเอ็มยู มีพันธมิตรอยู่ในเวียดนาม เป็นธนาคารท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ชื่อเวียนเตียนแบงก์ เอ็มยูเอฟจีถือหุ้น 20% ในแบงก์เวียดนามแห่งนี้ และบีทีเอ็มยูมีสาขาอยู่ในเวียดนามอยู่แล้ว

    นายโกโตะมองแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้นในปี 2558 จากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายสินเชื่อได้ประมาณ 8% เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7-9%

    ขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนทำให้ธนาคารต้องเพิ่มความเข้มงวดในการให้สินเชื่อรายย่อยซึ่งเป็นพอร์ตสินเชื่อหลักของธนาคารทั้งการเฝ้าระวังคุณภาพของลูกหนี้เดิมและคุมเข้มลูกค้าที่จะเข้ามาใหม่ด้วย

    Tags : โนริอากิ โกโตะ • ธนาคารกรุงศรี • ญี่ปุ่น • หนี้ครัวเรือน

    [​IMG]
     

แบ่งปันหน้านี้