ปัญหาหลักฐานจากล็อก คดีฆาตกรรมใช้หลักฐานเสาสัญญาณมือถือถูกยกฟ้องหลังผู้ต้องหาติดคุก 12 ปี

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 8 กันยายน 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    ปัญหาหลักฐานทางเทคโนโลยีเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกว่าเชื่อถือได้เพียงใด แม้แต่ในประเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีมาก่อนและมีประเด็นทางกฎหมายมากกว่าไทย อย่างเช่นสหรัฐฯ นิตยสาร The Economist รายงานคดีฆาตกรรม Jerri Lee Williams โดยมีผู้ต้องหาคือ Lisa Marie Roberts ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2002

    คดีนี้ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่าข้อมูลจากเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือจาก Verizon สามารถเจาะจงตำแหน่งของ Roberts ว่าอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ทนายของ Roberts แนะนำให้เธอยอมรับผิดเพื่อแลกกับการลดโทษเหลือ 15 ปี จากความผิดเต็มที่มีโทษ 25 ปีถึงตลอดชีวิต

    เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา Roberts ขอให้พิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง ผู้พิพากษาพิจารณาว่าหลักฐานมีความน่าสงสัยหลายอย่างนับแต่หลักฐานจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เองไปจนถึงหลักฐานดีเอ็นเอ และพิจารณาให้ปล่อยตัว Roberts ภายใน 90 วันหากไม่มีการอุทธรณ์คำสั่ง โดยระบุว่า Roberts ไม่ได้รับคำแนะนำอย่างมีประสิทธิผล (effective counsel)

    อัยการพิจารณาคดีนี้ประกอบกับความเห็นของญาติผู้เสียชีวิตและระยะเวลารับโทษและตัดสินใจไม่อุทธรณ์คำสั่ง ทำให้ Roberts ได้รับอิสระตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาโดยไม่มีประวัติอาชญากรรม หลังติดคุกนาน 12 ปี

    ปีที่แล้วมีคำสั่งขอข้อมูลเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือในสหรัฐฯ 37,839 คำสั่ง ปีนี้เฉพาะครึ่งปีแรกมีคำสั่งไปแล้ว 30,886 คำสั่ง การยึดว่าโทรศัพท์มือถือต้องเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณที่ใกล้ที่สุดเท่านั้นนับเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ ในความเป็นจริงแล้วมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเลือกเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณใดๆ เช่น สิ่งกีดขวางและกำแพงบริเวณที่ใช้งาน การลดความน่าเชื่อถือของหลักฐานเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องยากนัก แต่จำเลยอาจะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญขึ้นให้การซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายถึง 250 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

    ที่มา - The Economist

    Crime, USA
     

แบ่งปันหน้านี้