ศาลอาญาชี้ไม่มีอำนาจพิจารณาคดี "อภิสิทธิ์-สุเทพ" สลายการชุมนุมนปช.ปี 53

หัวข้อกระทู้ ใน 'การเมือง' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 28 สิงหาคม 2014.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    [​IMG]

    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พระสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เดินทางมายังศาลอาญาวันนี้ (28 ส.ค.57) ตามที่ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานและฟังคำสั่งวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายในคดีที่อัยการยื่นฟ้อง ฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

    จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ และพระสุเทพ มีคำสั่งยึดคืนพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามคำสั่ง ศอฉ.ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553

    ซึ่งทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไม่มีอำนาจสอบสวน และที่ผ่านมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้รับเรื่องที่มีการกล่าวหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพปฏิบัติหน้าที่มิชอบในเรื่องเดียวกันนี้ไว้แล้ว

    โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ขณะนั้นนายอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนพระสุเทพ เป็นรองนายกฯ และ ผู้อำนวยการ ศอฉ. มีคำสั่งลับอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริงเข้าขอพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่ใช่การกระทำโดยส่วนตัวหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ และปรากฎข้อเท็จจริงว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

    ส่วนการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารระงับเหตุไม่เป็นไปตามหลักสากล และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การกระทำของนายอภิสิทธิ์และพระสุเทพจึงเข้าข่ายความผิดการใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ไม่ใช่คดีฆาตกรรม เป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรง และไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา

    ส่วนที่ฟ้องว่าเป็นความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาก็เป็นความผิดกรรมเดียวสืบเนื่องกันอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงมีคำสั่งให้ยกฟ้องคดี

    นอกจากนี้ศาลได้อ่านความเห็นของนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่มีความเห็นแย้งว่าดีเอสไอและอัยการสูงสุด สั่งฟ้องคดีถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอาญามีอำนาจพิจารณาคดีได้ โดยให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป

    ภายหลังฟังคำสั่งศาล นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า จะมีการแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ถึงกรณีนี้อีกครั้งในวันนี้ (28 ส.ค.57)

    ขณะที่นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของนายอภิสิทธิ์ ระบุว่า ฝ่ายโจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลได้ภายใน 30 วัน

    ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่าจะยื่นอุทธรณ์คดีอย่างแน่นอน

    อย่างไรก็ตามในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. และหาก ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ก็จะต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
     

แบ่งปันหน้านี้