เปิดสถาปัตยกรรม LINK Chain เครือข่ายบล็อคเชนที่ LINE สร้างเพื่อ LINE Points

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 23 พฤศจิกายน 2018.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    LINE เป็นบริษัทที่แสดงท่าทีสนใจนำเงินคริปโตและบล็อคเชนมาใช้งานได้สักระยะ จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นราวต้นปีนี้ โดย LINE สนใจนำเงินคริปโตมาใช้กับ LINE Pay ตามด้วยการเปิดตลาดค้าเงินคริปโต BITBOX เมื่อกลางปี และสกุลเงินดิจิทัลชื่อ LINK ในระยะต่อมา

    ในงานสัมมนา LINE Developer Day 2018 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางผู้บริหารของ LINE ก็เผยรายละเอียดของแพลตฟอร์มเงินดิจิทัลอย่างละเอียด โดยใช้ชื่อว่า LINK Chain

    [​IMG]

    จุดเริ่มต้นจาก LINE Points


    คุณ Toshimasa Nasu ผู้บริหารจาก Blockchain Lab ของ LINE ให้ข้อมูลว่าปัจจุบัน LINE มีระบบเก็บแต้มชื่อ LINE Points ที่ใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว และมีแต้มในระบบมากถึง 3.2 หมื่นล้านพอยต์เข้าไปแล้ว

    การเก็บแต้มสะสม เป็นการแปลงเงินที่เราจ่ายเพื่อบริการต่างๆ เป็นระบบแต้มเพื่อให้ลูกค้านำไปใช้งานต่อ ความสัมพันธ์ในโลกแบบเดิมเป็นเส้นตรงดังภาพ

    [​IMG]

    เป้าหมายของ LINE คือทำอย่างไรให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนแต้มกันเองได้ตามต้องการ คำตอบคือใช้บล็อคเชนเข้ามาช่วย และสร้างตลาดแลกเปลี่ยน (exchange) ขึ้นมา

    [​IMG]

    การใช้บล็อคเชนยังได้ประโยชน์เรื่องความโปร่งใส เพราะสืบย้อนกลับได้ตลอดเวลาว่าแต้มได้มาจากที่ไหน ใช้ไปกับอะไร

    [​IMG]

    ตรงนี้น่าสนใจเพราะคุณ Nasu ชูประเด็นเรื่องความโปร่งใส (transparency) เป็นเหตุผลสำคัญในการเลือกใช้บล็อคเชน ในขณะที่แทบไม่พูดถึงการกระจายศูนย์ (decentralization) เลย

    [​IMG]

    ภาพรวมของ LINK Chain จึงเป็นแพลตฟอร์มที่มีเงินดิจิทัลสกุล LINK และมีแอพแบบกระจายศูนย์ (dApp) รันอยู่บนแพลตฟอร์ม

    [​IMG]

    สถาปัตยกรรมของ LINK Chain


    LINK Chain เป็นแพลตฟอร์มบล็อคเชนที่ออกแบบมาเพื่อบริการออนไลน์ สถาปัตยกรรมของมันแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

    • LINK Network หมายถึงเครือข่ายบล็อคเชนที่เป็นแกนหลักของระบบ
    • LINK Framework เปรียบได้กับ API ที่ช่วยให้นักพัฒนาเรียกใช้ส่วนต่างๆ ของแพลตฟอร์ม เช่น การสร้างบัญชี การสร้างกระเป๋าเงิน ฯลฯ
    • dApps แอพพลิเคชันที่มารันบนแพลตฟอร์มนี้

    LINK Network

    LINK Network คือเครือข่ายทำหน้าที่หาข้อยุติ (consensus) ของการประมวลผลเหมือนบล็อคเชนทั่วไป

    [​IMG]

    LINE ออกแบบโครงสร้างของ LINK Network ขึ้นมาเอง ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปอย่าง Ethereum หรือ Hyperledger

    สถาปัตยกรรมของ LINK Network ประกอบด้วยโหนด 2 ประเภทคือ C-Node (Consensus-Node) และ S-Node (Sync-Node) และมีซอฟต์แวร์ช่วยสนับสุนอื่นๆ เช่น เก็บล็อก มอนิเตอร์ ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ทั่วไปที่นิยมในวงการ เช่น Prometheus, Grafana, Kafka

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ตัวอัลกอริทึมของ LINK Network ที่ใช้หา consensus เลือกใช้ PBFT (Practical Byzantine Fault Tolerance) เพื่อให้ทำงานได้รวดเร็ว

    [​IMG]

    ปัจจุบันเครือข่าย LINK Network ยังรันอยู่เฉพาะในระบบปิดของ LINE เองเท่านั้น ยังไม่เปิดให้คนนอกหรือพาร์ทเนอร์เข้ามาใช้งาน

    LINK Framework

    เทียบได้กับ API ระดับที่สูงขึ้นมาจาก LINK Network เพื่อให้นักพัฒนาทำงานได้สะดวกขึ้น หลักๆ แล้วเป็นการกำหนดสิทธิต่างๆ รวมถึงการสร้าง wallet ของผู้ใช้ตาม policy ที่กำหนด และการจัดการด้านความปลอดภัยในภาพรวมด้วย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    dApps

    ขั้นสุดท้ายคือแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย smart contract เพื่อให้ทำงานบนเครือข่ายบล็อคเชนได้เต็มที่

    [​IMG]

    ปัจจุบัน LINE สร้างแอพ dApps ขึ้นมาใช้งานทั้งหมด 6 ตัว ที่เปิดตัวมาแล้วคือ BITBOX (ซื้อขายแลกเปลี่ยน) ตามด้วย Wizball (ถาม-ตอบ) และ 4CAST (พยากรณ์) หลังจากนี้จะมีแอพกลุ่มรีวิวสินค้า สถานที่ ผลิตภัณฑ์ ออกมาอีก 3 ตัว

    [​IMG]

    [​IMG]

    แผนการของ LINE ต่อ LINK Chain


    สถานะตอนนี้ของ LINK Chain คือเพิ่งทำเสร็จใช้งานได้ ในขั้นต่อไปจะอัพเกรดตัวเครือข่ายข้างใต้จาก LINK Network มาเป็น LINEAR Network

    [​IMG]

    LINEAR Network มีฟีเจอร์สำคัญคือแยกส่วนของสายโซ่เป็น root chain (สายหลัก) และ leaf chain (สายย่อย) เพื่อให้แอพแต่ละตัวรันเฉพาะบน leaf chain ของตัวเอง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลังจากนั้นในปี 2019 บริษัทจะเปิดรับแอพ dApp จากพาร์ทเนอร์ และเปิดรับจากคนทั่วไปในระยะถัดไป

    คุณ Nasu พูดเรื่องการเปิดเครือข่ายบล็อคเชนเป็น public network ว่าคิดๆ ไว้บ้างเหมือนกัน แต่ในช่วงแรกจะยังเป็น private ทั้งหมดไปก่อน

    Topics: LINEBlockchainCryptocurrency
     
  2. bobo11

    bobo11 Member

แบ่งปันหน้านี้