ด้วยความพร้อมในเชิงโครงข่ายและเทคโนโลยี วันพฤหัสที่ผ่านมา AIS ร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง Nokia, Huawei และ ZTE ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ในทดสอบการใช้งาน 5G บนคลื่นความถี่ 26.5 - 27.5 GHz แล้ว การทดสอบครั้งนี้เป็นการโชว์เคสการใช้งานของ 5G โดยจะไม่ได้พูดถึงแต่ในแง่ของ Speed อย่างเดียว แต่ทาง AIS ได้จัดหา usecase ที่ทำให้เห็นในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน และครอบคลุมทุกองค์ประกอบของ 5G ทั้ง 3 แกน คือeMMB (Enhanced Mobile Braodband) ที่เน้นความเร็ว, URLLC (Ultra-Reliable Low Latency Communication) สำหรับการเชื่อมต่อความหน่วงต่ำและ eMTC (Massive Machine Type Communication) การทดสอบ 5G และโชว์เคสของ AIS มีทั้งหมด 5 แบบ 5G Super Speed แสดงศักยภาพด้านสัญญาณของ 5G ซึ่งเป็นสัญญาณ 5G ที่ปล่อยผ่านเสาอากาศ ไปหามือถือจริงเป็นอุปกรณ์ต้นแบบ (prototype) ที่ support 5G โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เข้าถึงประสบการณ์จริงและเห็นว่าความเร็วที่ได้รับผ่านมือถือจริงๆนั้นมีความเร็วที่สูงระดับ Gigabit และความหน่วง (latency) ที่ต่ำในระดับ 5ms 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot สาธิตความเร็วในการตอบสนองของหุ่นยนต์ 3 ตัวในการหาจุดสมดุลด้วยการทำให้ลูกบอลอยู่ที่กลางกระดาน โดยสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G ซึ่งเวลาที่หุ่นยนต์ 3 ตัวใช้เวลาในการหาจุดสมดุลที่ใช้เครือข่าย 5G จะทำได้เร็วกว่าใช้เครือข่าย 4G ระยะเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายเทียบระหว่าง 4G และ 5G 5G for Industry 4.0 แสดงการทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำ ทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G 5G Virtual Reality – Immersive video การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการแบนด์วิธที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming เคสนี้เลยแสดงการดูวิดิโอ VR ผ่าน 5G ที่มีการแสดงผลแทบจะเรียลไทม์และไม่หน่วง ซึ่งจะช่วยลดอาการเวียนหัวหรือ Motion Lag จากการดูวิดิโอผ่านแว่น VR ลงไปด้วย 5G FIFA Virtual Reality โชว์ความหน่วงต่ำของ 5G ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมทดสอบสวมแว่น VR และเตะจุดโทษ โดยเปรียบเทียบการตอบสนองของผู้รักษาประตูผ่านเครือข่าย 4G และ 5G ซึ่งจะพบว่าการเล่นผ่านเครือข่าย 5G จะยิงลูกโทษยากกว่า เพราะผู้รักษาประตูมีการตอบสนองต่อลูกบอลที่เราเตะออกไปเร็วกว่าบน 4G สรุป การทดสอบ 5G ครั้งนี้ของ AIS ไม่เพียงแต่โชว์ความพร้อมในแง่เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย โดยงาน 5G the First LIVE in Thailand by AIS จะจัดไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ที่ AIS DC ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม Topics: AIS5GThailandTelecomAdvertorial