อินเทลเผยข้อมูล Tiger Lake ซีพียู Willow Cove, จีพียู Xe-LP, ผลิตแบบ 10nm SuperFIN

หัวข้อกระทู้ ใน 'เทคโนโลยี' เริ่มโพสต์โดย iPokz, 13 สิงหาคม 2020.

  1. iPokz

    iPokz ~" iPokz "~ Staff Member

    อินเทลจัดงาน Architecture Day 2020 โดยหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Raja Koduri นำทีมมาเล่าแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้ สินค้าหลักที่ทุกคนให้ความสนใจย่อมหนีไม่พ้นซีพียูโค้ดเนม Tiger Lake ที่จะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด

    อินเทลเริ่มให้ข้อมูลของ Tiger Lake มาตั้งแต่ต้นปี มันจะเป็น SoC สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาในตัว (อินเทลใช้คำเรียกว่า XPU)

    ของใหม่ใน Tiger Lake มีทั้งซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ Willow Cove, จีพียูตัวใหม่ Xe-LP และการผลิตแบบใหม่ 10nm SuperFIN

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    Willow Cove


    ซีพียูสถาปัตยกรรม Willow Cove เป็นตัวต่อจาก Sunny Cove ที่ใช้ใน Ice Lake แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้น อินเทลระบุว่าสามารถขยายขอบเขต (range) ของสัญญาณนาฬิกา/โวลต์ไปได้กว้างขึ้น และเราสามารถได้เห็น Willow Cove รันทะลุ 4.5GHz ได้แล้ว (แลกกับโวลต์ที่สูงขึ้นกว่า Sunny Cove หากต้องการ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    อินเทลยังเผยแผนการพัฒนาคอร์รุ่นถัดไปว่า ปีนี้เราได้เห็น Willow Cove ที่เป็นคอร์ซีพียูเดสก์ท็อป ส่วนปีหน้า 2021 จะเห็นตัวต่อคือ Golden Cove

    และนอกจาก Golden Cove แล้วจะมีคอร์รุ่นเล็ก (Atom เดิม) คือ Grace Mont ที่จะนำไปผสมกันเป็นซีพียูแบบไฮบริดคือ Alder Lake ซึ่งเป็นตัวต่อของ Lake Field ซีพียูไฮบริดรุ่นแรก 4+1 คอร์ที่เพิ่งเปิดตัว

    [​IMG]

    Xe-LP


    Tiger Lake จะมาพร้อมจีพียูตัวใหม่จริงๆ ของอินเทลคือ Xe (อ่านออกเสียงว่า "เอ็กซ์อี") ที่โฆษณาว่าประสิทธิภาพเท่าจีพียูแบบ discrete

    Xe จะเป็นแบรนด์จีพียูทั้งหมดของอินเทล ซึ่งอินเทลเปิดตัว Xe ตัวแรกมาตั้งแต่ปลายปี 2019 แต่ยังเป็นจีพียูรุ่นท็อปสุดสำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ชื่อแบรนด์ย่อยว่า Xe-HPC ใช้โค้ดเนมว่า Ponte Vecchio

    ส่วน Xe ที่มากับ Tiger Lake ซึ่งเป็นซีพียูโน้ตบุ๊ก จะเป็น Xe ตัวล่างสุดที่เรียกว่า Xe-LP และมีสมรรถนะสูงกว่าจีพียูรุ่นปัจจุบัน (Gen11)

    [​IMG]

    [​IMG]

    10nm SuperFIN


    สุดท้ายคือเรื่องกระบวนการผลิต ชิป Tiger Lake ยังใช้กระบวนการผลิตแบบ 10 นาโนเมตรเช่นเดียวกับ Ice Lake แต่ถือเป็น 10nm รุ่นที่สองแล้ว คราวนี้อินเทลเลิกใส่เครื่องหมายบวกหลังชื่อ (10nm+ หรือ 10nm++) แบบที่เราเคยเห็นกันในยุค 14nm แต่เรียกมันว่า SuperFIN แทน

    [​IMG]

    SuperFIN ประกอบด้วยเทคนิค 2 อย่างคือ SuperMIM และ Redefined FinFET

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผลของเทคนิค SuperFIN ทำให้ประสิทธิภาพของ 10nm รุ่นที่สองดีขึ้นจากรุ่นแรกราว 15-20% ซึ่งถือว่าพัฒนาขึ้นจากยุค 14nm ที่แต่ละ + ประสิทธิภาพดีขึ้นไม่เยอะนัก

    [​IMG]

    วิดีโองาน Architecture Day 2020

    ที่มา - Intel, Intel (2)

    Topics: IntelTiger LakeCPUXeGPUProcessor
     

แบ่งปันหน้านี้